ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ปฏิทินกิจกรรม
dot
bulletโรงเรียนภาคฤดูร้อน
bulletงานรวมพี่รวมน้อง
bulletงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
bulletกิจกรรมทุกวันเสาร์(สัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือน)
bulletข่าวสารของคริสตจักร มิตรภาพ
dot
สื่อมัลติมีเดีย ของคริสตจักร
dot
bulletคำเทศนาเรื่อง การใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ
bulletเพลงสรรเสริญพระเจ้า (Eng)
dot
รอบรั้ว คริสตจักรของพระคริสต์ มิตรภาพ
dot
bulletสมาชิกที่มิตรภาพ
dot
หนังสือต่างๆ ของทางคริสตจักร
dot
bulletหนังสือที่น่าสนใจ
dot
บทความ โดยสุบิน ปั้นบุญ
dot
bulletบทความ โดยสุบิน ปั้นบุญ
bulletหนังสือ และบทความ
bulletคริสเตียนใหม่
bulletงานฟื้นฟูประจำปี
bulletสมัครบทเรียนทางไปรษณีย์...ฟรี
bulletเว็บเพจ และข่าวสาร ของ คริสตจักร (มิตรภาพ)
bulletบทความในวารสาร ของคริสตจักร


แบนเนอร์ตัวอย่าง


คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 4

คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 4

QUESTION OF INSTRUMENTAL MUSIC IN WORSHIP.

การใช้ดนตรียุคต่างๆ # 2

MUSIC IN THE DIFFERENT AGES .

เยเนซิศ 8:20 โนฮาก็ก่อแท่นบูชาพระยะโฮวา แล้วเลือกเอาสัตว์และนกที่สะอาดทุกอย่างมาเผาถวายบูชาที่แท่นนั้น

เฮ็บราย 7:26-28 26 ด้วยว่า มหาปุโรหิตอย่างนั้นเหมาะแก่เรา คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากอุบาย ไม่มีมลทิน ต่างจากคนบาปทั้งปวง และถูกตั้งไว้ให้สูงกว่าฟ้าสวรรค์ 27 พระองค์นั้นไม่ต้องนำเครื่องบูชามาทุกวันๆ เหมือนอย่างมหาปุโรหิตเหล่านั้น ถวายสำหรับความผิดของตัวเองเสียก่อน แล้วจึงถวายสำหรับความผิดของคนทั้งปวง ด้วยว่าการนั้นพระองค์ได้ทรงกระทำแต่หนเดียว คราวเมื่อพระองค์ได้ถวายตัวของพระองค์เอง 28 ด้วยว่า พระบัญญัตินั้น ได้แต่งตั้งมนุษย์ที่อ่อนกำลังขึ้นเป็นมหาปุโรหิต แต่คำทรงปฏิญาณนั้น ซึ่งมาภายหลังพระบัญญัติ ได้ทรงแต่งตั้งพระบุตรขึ้นผู้ถึงความสำเร็จเป็นนิตย์

คำนำ : 1. พระคัมภีร์ข้างบนเป็นตัวอย่างยกมา  เพื่อชี้ให้เห็นการนมัสการพระเจ้ามีระบบต่างกัน  The

above Scriptures serving as examples of the three different system in worshipping God. โนฮาอยู่ในยุคบรรพบุรุษ  ยุคนี้หัวหน้าครอบครัวทำหน้าที่ถวายเครื่องบูชา  ยุคที่สองยุคโมเซ  ปุโรหิตทำหน้าที่ถวายเครื่องบูชาแทนพลไพร่ทั้งหลาย  ยุคที่สามคือยุค

คริสเตียนพระเยซูเป็นปุโรหิตทำหน้าที่ถวายพระองค์เองเป็นเครื่องบูชา  เฮ็บราย 7:27-28

27 พระองค์นั้นไม่ต้องนำเครื่องบูชามาทุกวันๆ เหมือนอย่างมหาปุโรหิตเหล่านั้น ถวายสำหรับความผิดของตัวเองเสียก่อน แล้วจึงถวายสำหรับความผิดของคนทั้งปวง ด้วยว่าการนั้นพระองค์ได้ทรงกระทำแต่หนเดียว คราวเมื่อพระองค์ได้ถวายตัวของพระองค์เอง 28 ด้วยว่า พระบัญญัตินั้น ได้แต่งตั้งมนุษย์ที่อ่อนกำลังขึ้นเป็นมหาปุโรหิต แต่คำทรงปฏิญาณนั้น ซึ่งมาภายหลังพระบัญญัติ ได้ทรงแต่งตั้งพระบุตรขึ้นผู้ถึงความสำเร็จเป็นนิตย์

     * การใช้เครื่องดนตรีประกอบการนมัสการ  ไม่ว่าจะอยู่ในยุคของบรรพบุรุษ หรือยุคของโมเซ

พระเจ้าทรงกำหนดให้อยู่ในระบบของแต่ละยุค  จะนำเอาการนมัสการในระบบของโมเซมาใช้ในยุคของคริสเตียนไม่ได้  เหมือนที่เราไม่สามารถนำการเผาสัตว์เป็นเครื่องบูชา วันปัศคา ,วันซะบาโต และเทศกาลอื่นในยุคโมเซนำมาใช้ในยุคตริสเตียน

     2. เราได้ศึกษาจากบทเรียนที่แล้ว  เกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีในยุคต่างๆ  We have learned

       the use of instruments in different ages.  เราพบว่า

(1) คริสตจักรยุคแรก : ตามแบบแผนการนมัสการโดยไม่ใช้เครื่องดนตรีขณะนมัสการพระเจ้า

(2) ในพระคัมภีร์ใหม่เราพบว่าข้อพระคัมภีร์ที่มีการร้องเพลง  โดยไม่ใช้เครื่องดนตรีในที่ประชุม   

      เช่น เอเฟโซ 5:19, โกโลซาย 3:16, 1โกรินโธ 14:15, เฮ็บราย 2:12, 13:15

 

 


(3) ในประวัติศาสตร์ของคริสตจักรยุคบรรพบุรุษ  ต่อจากยุคอัครสาวกก็ไม่ปรากฏว่าใช้เครื่อง

ดนตรีเวลานมัสการในที่ประชุม ค.ศ. 100-ค.ศ. 400  In the history during the

Church fathers after the apostles no instrument music ever used in

worship.  วันนี้เราจะศึกษาประวัติศาสตร์การนมัสการของยุคฟื้นฟู และยุคปฏิรูป

ศาสนาคริสต์ว่าพวกเขาไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการในที่ประชุม

I. ดนตรีในการนมัสการยุคฟื้นฟูศาสนาคริสต์ (1325-1600)

    MUSIC IN WORSHIP DURING THE REFORMATION.

    1. ยุคการฟื้นฟูศาสนาคริสต์ในศตวรรษที่สิบหก  Reformation of Christianity in sixteenth

      century Church.  มีหลายคนที่เป็นผู้ทำการฟื้นฟูศาสนาคริสต์  ให้กลับเป็นเหมือนคริสตจักรดั้งเดิมที่สอดคล้องากับพระคัมภีร์  พวกนักฟื้นฟูเหล่านี้ต่างพากันเผชิญหน้ากับพวกใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการในที่ประชุม  คณะโรมันคาทอลิกใช้เครื่องดนตรี ได้นำเอารูปเคารพเข้ามาในที่ประชุม  มีการเผาเครื่องหอม มีการใช้เทียน มีการใช้ตั๋วล้างบาป transubstantial ยกย่อง saint ต่างๆ นิกายอื่นๆก็ได้เพิ่มเติมหลายสิ่งเข้าไปในคริสตจักร

     2. จอห์น ไวคลิฟฟ์ (1328-84) นักฟื้นฟูชาวอังกฤษยุคแรก  English reformer John

       WyCliffe (C.1328-84)

จอห์น ไวคลิฟฟ์ปฏิเสธการใช้เครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง 1 John Huss of Bohemia  ค.ศ. 1369-1415 ท่านผู้นี้เหมือนกันยืนยันการร้องเพลงในที่ประชุมนมัสการโดยไม่ใช้เครื่องดนตรี 2

     3. มารืติน  ลูเธอร์ Martin Luther (1483-1546) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกในเยอรมัน เป็น

คนมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะท่านได้เขียนบทความต่อต้านระบบโรมันคาทอลิก  โลกยกให้มาร์ติน ลูเธอร์เป็นคนแรกที่ก่อตั้งนิกายโปรเตสแตนท์ขึ้น  มาร์ติน ลูเธอร์ต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีและการมีรูปเคารพต่างๆ  มาร์ติน ลูเธอร์  บอกว่า  เครื่องดนตรีออร์แกนเปรียบเหมือนรูปเคารพพระบาละ 3

     4. เกอร์ฮาร์ด คาร์ลสตาดท์  Gerhard Carlstadt.  (ค.ศ. 148-1541)  เป็นชาวเยอรมัน 

         คัดค้านการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการในที่ประชุม เกอร์ฮาร์ด  บอกว่าคนที่เล่นเครื่องดนตรีไม่สามารถสมาธิในการนมัสการพระเจ้า  เพราะสมองของเขาจะจดจ่ออยู่กับการเล่นเครื่องดนตรี  เกอร์ฮาร์ด  เรียกร้องให้ทุกคนในที่ประชุมร้องเพลงด้วยปากเปล่าโดยไม่ใช้เครื่องดนตรี

 

 


1. Gotthard Lechler, John WyCliffe and his English precursors, trans. Peter Lorimer

   (London : Religious Tract society, 1884), 298

2. Gustave Reese , Music in the Renaissance (New York: w.w. Norton & Co., 1959),

    732-33

3. Mc Clintock & Strong’s Encyclopedia, Music, Vol.VI;  P.762


     5. ฮูลดริช  สวิงลี  Huldreich Zwingli  (1484-1531)  ใน Zurich ประเทศ Switzerland 

         ท่านได้ยืนขึ้นต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีอย่างรุนแรง  แม้ว่าตัว สวิงลีเองเป็นนักดนตรีที่ประสบความสำเร็จ  สวิงลีบอกว่าสิ่งที่พระเยซูตรัสสั่งไว้ในพระคัมภีร์ใหม่ต้องยึดถือในการนมัสการในคริสตจักร  อะไรที่เพิ่มขึ้นจากสิ่งที่พระเยซูได้ตรัสสั่ง  สวิงลีถือว่าเป็นการละเมิด  ผลจากการที่สวิงลีสอนทำให้มีการงดใช้เครื่องดนตรีประกอบการนมัสการในยุคนั้น

     * เฮ็นริช ฟูลิงเกอร์  Heinrich Bullinger  (1504-75) ลูกศิษย์ของสวิงลีใน Zurich 

ประเทศ Switzerland ท่านเป็นอีกคนที่ต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการในที่ประชุมคริสตจักร

     6. จอห์น คาลวิน John Calvin  เป็นผู้ให้กำเนิดนิกาย Persbyterian Church (1509-64)

         จอห์น คาลวิน  เป็นนักฟื้นฟูศาสนาคริสต์ในประเทสฝรั่งเศส  และในสวิตเซอร์แลนด์  จอห์น คาลวิน  กล่าวว่า  เครื่องดนตรีไม่สมควรนำเข้ามาใช้ในการนมัสการเพราะเป็นเหมือนการเผาเครื่องหอม หรือการจุดเทียน  เท่ากับเป็นการทำตามพระบัญญัติเดิม  พวกโรมันคาทอลิกเบาปัญญาที่ขอยืมการนมัสการมาจากพวกยิว  รวมการปฏิบัติอื่นๆของพวกยิวอีกด้วย 4

              จอห์น  คาลวิน กล่าวว่า  เรานำบางสิ่งเข้ามาซึ่งเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง  หลายอย่างที่

คนนำเข้ามาใช้ในคริสตจักร  ซึ่งไม่มีคำสั่งโดยตรง  และไม่มีตัวอย่างการใช้เครื่องดนตรีในพระคัมภีร์ใหม่  เราไม่มีอำนาจที่จะนำเครื่องดนตรีเข้ามาใช้ในคริสตจักร  จอห์น คาลวิน 

         ไม่ได้ต่อต้านเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นที่บ้าน  ท่านต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีที่ใช้ในที่ประชุมนมัสการของคริสเตียน5

     * เธโอไดร์  เบซา Theodore Beza (1519-1605)  ลูกศิษย์ของคาลวินใน Geneva

              คัดค้านการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการด้วยเหมือนกัน

     7. นักฟื้นฟูหัวรุนแรง เมนโน ไวมอนส์ Menno Simons (C. 1496-1561)  The Radical

Reformation, Menno Simons.  ในประเทศ Netherland.  Menno  ปฏิเสธทุกสิ่งที่ไม่มีคำสั่งโดยตรงจากพระคัมภีร์

     8. จอห์น คน๊อกซ์ John Knox (C. 1514-72)  อยู่ในนิกายเพรสไบทีเรียนเป็นผู้ประกาศคัดค้าน

การใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการในที่ประชุม  ใน Scotland นักฟื้นฟูชาว Scottish ผู้มีความร้อนรนในการต่อต้านการใช้เครื่องดนตรี  John Knox บอกว่า  ออร์แกนเป็นเหมือนเสียงนกหวีด 6    นักฟื้นฟูชาวอังกฤษยุคต้นๆต่างพากันคัดค้านการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ

 


4. John Calvin’s Commentary, thirty –third Psalm

5. John Calvin, The Necessity of Reforming the Church (Edinburgh: Calvin

    Translation Society ,1844; reprint, Dallas: Protestant Press, 1999), 16

6. Mc Clintock& Strong’s Encyclopedia, Music, Vol, p. 762.

 


     9. พวกคริสเตียนสมถะยุคแรก  Early Puritans-  กลุ่มคริสเตียนที่เรียกว่า Puritans  ได้

         ควบคุมการนมัสการโดยเคร่งครัดตามคำสั่ง  และตามตัวอย่างที่มีปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่  ถ้าไม่มีคำสั่งหรือตัวอย่างในพระคัมภีร์ใหม่  พวกเขาจะคัดค้านไม่ยอมใช้อย่างเด้ดขาด 7

    10. คอตตอน มาเธอร์ Cotton Mather (1663-1728) American Puritans รวมทั้ง Boston

        Puritans ได้กล่าวว่า ไม่มีพระคัมภีร์ใหม่สักข้อเดียวที่บอกให้ใช้เครื่องดนตรีนมัสการ

          พระเจ้าในที่ประชุม 8

    11. แมทธิว เฮ็นรี  Matthew Henry  ผู้เขียน Commentary  ผู้เขียน Commentary เป็นที่รู้จักดี

          ในนิกายเมธอดิสต์  (1666-1714)  A well known Methodist commentator Matthew Henry.  ต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีและการเต้นรำ  แมทธิว  มองเห็นว่าเครื่องดนตรีกับการเต้นรำมักไปด้วยกัน  Isaac Watts (1674-1748) ชาวอังกฤษคนแรกที่เป็นนักแต่งเพลงสรรเสริญ  ที่มีชื่อเสียงสำหรับร้องในการนมัสการ  Isaac Watts ต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการต่อต้านการใช้ดนตรีที่เลียนแบบพระคัมภีร์เดิมและเลียบแบบจากหนังสือวิวรณ์

     12. ชาร์ลส  สเปอร์เจียน  Charles Spurgeon (1834-92)  เป็นนักเทศน์ในนิกายแบพติสต์ที่มี

           ชื่อเสียงโด่งดังเป็นเวลา 20 ปี  ที่ประเทศอังกฤษในที่ประชุมกรุงลอนดอน  ไม่มีเครื่องดนตรี  Charles Spurgeon ได้ต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการจนถึงปี 1880  ในคำอธิบายจากหนังสือบทเพลงสรรเสริญ 42:4  ท่านได้อธิบายไว้ว่า  ถ้าเราใช้เครื่องดนตรีนมัสการได้  แสดงว่าเราก็น่าจะใช้เครื่องจักรกลอธิษฐานและร้องเพลงแทนมนุษย์ได้ 9

     13. อาดาม คลาร์ค Adam Clarke  ผู้มีชื่อเสียงในนิกายเมธอดิสต์  1762-1832  ผู้แต่ง

พจนานุกรมและแต่งชีวประวัติของคน 6 Volume (1802)  และเป็นผู้เขียนหนังสือ Commentary อธิบายพระคัมภีร์ (1810-26)  Adam Clarke ได้เขียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการไว้ดังนี้

เครื่องดนตรีในมุมมองวิทยาศาสตร์  ข้าพเจ้าชื่นชมและขอยกย่อง : แต่เครื่องดนตรีในวิหารของพระเจ้า  ข้าพเจ้ารังเกียจและสะอิดสะเอียน  นี่เป็นดนตรีที่นอกรีต  ข้าพเจ้าขอประณามต่อต้านการนมัสการที่นอกรีตซึ่งขัดต่อน้ำพระทัยของพระองค์ผู้เป็นประมุขของศาสนาคริสต์10

7. Henry Wilder Foote, Three centuries of American Hym nody (Cambridge , Mass :  

    Harvard University press, 1940; reprint, Hamden , Conn : Archon books, 1968),

    76-79

8. Cotton Mather, The great work of Christ in America (London N.P.,1702; reprint,

    Edinburgh : Banner of Truth trust, 1979),2:266

9. Charles Surgeon, The treasury of David  (Grand Rapids , Mich, : Zondervan,

    1957), 1:272

10. Adam Clarke , Clarke’s Commentary, Vol., IV; p.686


     14. จอห์น เวสเล่ย  John Wesley  เป็นผู้ก่อตั้งนิกาย Methodist (1703-1791)  Adam

Clarke  ได้ยกคำพูดของ John Wesley  เกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีมีใจความดังนี้  ข้าพเจ้าไม่ต่อต้านเครื่องดนตรีในที่ประชุม  แต่มีข้อแม้ว่าอย่าให้ข้าพเจ้าเห็นหรือได้ยินเสียงก็แล้วกัน 11

     15. จอห์น โคน์แบร์ และฮาวซัน John Conybeare and Howson  กูรูแห่งคริสตจักรอังกฤษ

(1692-1755)  ในหนังสือ Commentary เอเฟโซ 5:19  ท่านกล่าวว่า จงร้องเพลงสดุดีด้วยเสียงดนตรีจากใจของท่านทั้งหลายถวายองค์พระผู้เป็นเจ้า .... อย่าให้เพลงของท่านทั้งหลายเป็นเพลงของคนขี้เมาที่ดื่มฉลองเหมือนชาวโลกที่ไม่เชื่อ  แต่จงร้องเพลงสดุดี เพลงสรรเสริญด้วยเสียงดนตรีที่ไม่ออกมาจากเครื่องดนตรี  แต่เป็นเสียงดนตรีที่ออกมาจากใจ12

      * Leroy Brownlow นักเทศน์คริสตจักรของพระคริสต์ยุคปัจจุบันกล่าวว่าบรรดาผู้นำในยุค

               ฟื้นฟูที่ยกมากล่าวเหล่านี้ทุกคน  ไม่มีสักคนเดียวที่เป็นสมาชิกคริสตจักร

               ของพระคริสต์  คำพูดของคนเหล่านี้ยืนยันให้เห็นว่าผู้นำในนิกายต่างๆเหล่านี้กล่าวว่าเป็นการผิดที่จะใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการ  ความจริงก็คือว่าถ้าพระเยซูไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีนั่นเป็นข้อพิสูจน์มากเพียงพอแล้ว  การที่หยิบยกคำพูดของนักฟื้นฟูมาอ้างอิงก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าพวกผู้นำเหล่านี้ปฏิเสธการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการ  ถึงแม้ว่าไม่มีใครสอนว่าการใช้เครื่องดนตรีประกอบการนมัสการเป็นการผิด  อย่างไรก็ตามจะเปลี่ยนแปลงคำสอนของพระคัมภีร์ใหม่ไม่ได้อย่างเด็ดขาด  มีหลักฐานยืนยันว่าไม่ใช่เราเท่านั้นที่ยืนอยู่บนความจริงดังกล่าวเช่นเดียวกัน  นักประวัติศาสตร์ สารานุกรมต่างๆ  และบรรดาผู้นำศาสนาต่างเห็นพ้องกันเป็นเสียงเดียวกันว่า  ดนตรีที่ใช้ใน

                พระคัมภีร์ใหม่เป็นดนตรีที่ร้องออกมาจากปาก 13

II. ดนตรีในการนมัสการยุคปฏิรูปศาสนาคริสต์  (1861-1900)

    MUSIC IN WORSHIP DURING THE RESTORATION.

ประวัติศาสตร์บันทึกไว้เป็นเวลา 1,000 ปี นับตั้งแต่คริสตจักรได้ตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 33  ที่กรุง

ยะรูซาเล็ม  ไม่มีการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการพระเจ้าในคริสตจักรเลย  มีแต่การร้องเพลงด้วยปากเปล่า หรือ vocal music หรือ a cappella. เท่านั้น

    1. ก่อนสงครามกลางเมืองในอเมริกา  ไม่มีการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ  Before the

American Civil War (1861-65) Congregations using instruments were hardly known 14

   

11. Ibid p.686

12. Life and Epistles of St. Paul, Vol.II p.408.

13. Leroy Brownlow , Why I am a member of the Church of Christ. Brownlow

     publishing company, Inc. Forth Worth, Texas. P.181-182

14. Jack P. Lewis “Truth for Today world mission school.” March 2008, p. 17


    2. อเล็กซานเดอร์ แคมป์เล็ลล์ Alexander Campbell ในปี 1851 ได้กล่าวว่า สำหรับคริสเตียน

        ที่อยู่ฝ่ายวิญญาณจิตการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการไม่ต่างอะไรกับระฆังแขวนคอวัวและการเล่น คอนเสิร์ต15

    3. เจ ดับเบ็ลยู แมคการ์เวช  J. W. Mc Garvey (1829-1912)  หลังสงครามกลางเมือง Mc

       Garvey ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่ได้เกิดขึ้นในยุคนั้น  เกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ  ก่อนหน้านี้ไม่มีนักเทศน์คนไหนสนับสนุนการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ Mc Garvey ได้กล่าวยืนยันว่าไม่มีอำนาจจากพระคำของพระเจ้าอนุญาตให้ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ16

     4. โมเสส อี ลาร์ด Moses E. Lard (1818-80)  ได้ชี้ให้เห็นว่าหลักสำคัญกำลังถูกสั่นคลอนคือ

       การที่มีคนใช้สิทธิ์ส่วนตัวนำเอานวตกรรมเข้ามาใช้นมัสการพระเจ้า17

     5. โรเบอร์ต ริชาร์ดสัน Robert Richardson (1806-76)  นายแพทย์ชาวอเมริกันและเป็นผู้นำ

ศาสนาที่เคร่งครัด  ได้ปฏิเสธอย่างแข็งแรงกับคนที่อ้างว่า  การใช้เครื่องดนตรีเป็นทางเลือก Robert Richardson กล่าวว่า ถ้าในพระคัมภีร์ใหม่มีสักข้อเดียวที่บอกว่าคริสเตียนควรใช้เครื่องดนตรีได้  คำถามที่ตามมาเกี่ยวกับทางเลือก  ถ้าใช้เครื่องดนตรีได้ถามว่าใช้เครื่องดนตรีชนิดใดล่ะ18

              ในยุคปฏิรูปศาสนา  คริสตจักรต่างๆมีการแตกแยกกันอย่างมาก  เพราะเหตุได้นำเอา

เครื่องดนตรีเข้ามานมัสการ  คนที่นิยมใช้เครื่องดนตรีจะมีจำนวนมากหรือน้อย  หรือมีผู้ต่อต้านการใช้เครื่องดนตรีจะมีมากหรือน้อย ได้มีการแตกแยกกันเป็นเสี่ยงๆไปแล้ว

     6. โทลเบอร์ต แฟนนิง Tolbert Fanning (1810-74) ได้เขียนบทความต่อต้านการใช้เครื่อง

ดนตรีเวลานมัสการ  เมื่อปี 1856  ข้าพเจ้าขอบอกว่าการนมัสการโดยใช้ออร์แกน และไวโอลิน รวมทั้งนักร้องกลุ่ม (Choirs) ประสานเสียงในประเทศของเราขณะนี้  ข้าพเจ้าขอประณามว่านั่นเป็นการล้อเลียนพระผู้เป็นเจ้า19

    

 

 


15. Alexander Campbell “Instrumental Music,” “The Millennial Harbinger” 22, 4th

     Ser,  1 (October 1851) : 582

16. J.W. Mc Garvey, “A little further along,” “Apostolic Times” (April 1869):13

17. Editor’s note, in Hiram Christopher, “Instrumental Music in Church of Christ,”

     Lard’s Quarterly (October 1867) : 368

18. Robert Richardson, “Expediency,” Christian Standard (1868) : 409

19. Tolbert Fanning.  “The Church of Christ, No. 2” Gospel Advocatez (1856) : 199

20. Isaac Errett “Church Music” The Millenial Harbinger 35,4th ser; 3 (October

     1861) :559


     7. ไอแซค เออร์เรต Isaac Errett.  ในปี 1861  ได้กล่าวว่า  พวกนักฟื้นฟูศาสนาคริสต์ที่

อัจฉริยะ เหมือนักฟื้นฟูศาสนาในยุคก่อนๆ ต่อต้านการใช้เครื่องดนตรี และ Choirs  และต่อต้านนักร้องเสียงประสานในเวลานมัสการ20

     8. ในปี 1864 J.W. Mc Garvey  ได้เขียนไว้ดังนี้ว่า

        ในยุคต้นๆของการฟื้นฟูศาสนาคริสต์ได้มีการเห็นพ้องกันเป็นเอกฉันท์ ให้ปฏิเสธการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการในที่ประชุม  ได้มีการประกาศชัดเจนว่าการใช้เครื่องดนตรีไม่เป็นไปตามพระคำของพระเจ้า ไม่สอดคล้องกับสถาบันของคริสเตียน  และเป็นต้นเหตุของการเสื่อมโทรมของศาสนา21

     * แมก การ์เวย์ Mc Garvey  ยืนยันหนักแน่นว่าสิ่งที่ยอมรับในพระคัมภีร์เดิมถ้านำมาใช้

              ภายใต้พระคัมภีร์ใหม่ถือว่าผิด  ตัวอย่างการเผาสัตว์เป็นเครื่องบูชา การประพรมด้วยโลหิต การเผาเครื่องหอม และมีคันประทีปจุดไว้ในพลับพลา หรือในวิหารตลอดเวลา  ตัวอย่างอื่นๆเช่น การถือเทศกาลเลี้ยงตามฤดูกาลต่างๆ และการสวมเสื้อคลุมของปุโรหิต  Mc Garvey  ยืนยันว่าบางสิ่งที่พระเจ้าอนุญาตให้ทูตสวรรค์ใช้ได้  กล่าวว่า พิณทองคำไม่ใช่เป็นพิณตามตัวอักษรแต่เป็นภาพพจน์ในสวรรค์22

     9. ในปี 1939เอชลีโอ โบลส์  H. Leo Boles, เป็นหลานชายของ RaccoonJohn Smith-

Leo Boles ได้กล่าวว่า เราไม่สามารถเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  บนพื้นฐานของความคิดเห็นส่วนตัวให้เท่าเทียมกับพระคำของพระเจ้า .... คนอาจจะมีความคิดเห็นส่วนตัวได้  ความคิดเห็นส่วนตัวจะไม่หมดสิ้นไป  เราจะทำอย่างไรกับความคิดเห็น?  ในเมื่อความคิดเห็นอยู่ในขอบข่ายของพระคัมภีร์เงียบ  อะไรที่เงียบก็ขอให้เงียบต่อไป 23

     * ในยุคปฏิรูปพวกผู้นำที่มีคำขวัญว่า จงพูดในสิ่งที่พระคัมภีร์พูด จงเงียบในสิ่งที่พระคัมภีร์เงียบ  The slogan of the restoration leaders. “Speaks where the Bible speaks, silent where the Bible silent”  หมายความว่าสิ่งที่พระเยซูสั่งจงทำตามเลยอย่าได้สงสัย  สิ่งที่พระคัมภีร์เงียบไม่มีคำสั่งอย่าเพิ่มอะไรที่มาจากความคิดเห็นของเราเด็ดขาด  เพราะเราไม่มีอำนาจที่สั่งโดยตรงมาจากพระคำของพระเจ้า

 

 

 


21. J.W. Mc garvey, “Instrumental Music in Churches,” The Millennial Harbinger

     35, 5th ser, 7 (November 1864) : 510

22. Ibid ; 511-13

23. H. Leo Boles “The way of unity between Christian Church and Church of Christ” 

     Gospel advocate 81 (8June 1993) : 533; Alexander Campbell “Opinionsm,” The

     Millennial harbinger 1, new ser; 10 (October 1837) : 439-42


III. คำถามเกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรี  QUESTIONS OFTEN ASKED

     1. คำถาม? Question  เรารู้ได้อย่างไรว่าคริสตจักรยุคแรกไม่ใช้เครื่องดนตรี? 

       How do you know that the early Church did not use instrumental music?

         คำตอบ : Answer  นักประวัติศาสตร์เห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่า  คริสตจักรยุคแรกไม่ใช้

         เครื่องดนตรีประกอบการนมัสการ  อย่างไรก็ตามมีคำอธิบายต่างๆเกี่ยวกับเหตุผลเรื่องนี้

       เอช. เอ็ม. เบสท์ และดี. ฮัตทาร์  H.M. Best และ D. Huttar ตั้งข้อสังเกตว่าพวกยิวไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีในวิหารหลังจากที่วิหารถูกทำลายเมื่อ ค.ศ. 70 24

     * คริสเตียนยุคแรกท่องบทอาขยาน โดยไม่ใช้เครื่องดนตรีในที่ประชุมนมัสการ  มีการ

              ร้องเพลงบทอาขยานที่ไม่ใช้เครื่องดนตรี บทอาขยานมีน้ำเสียงและที่มีท่วงทำนองเหมือนการท่องบทกลอน25

     * เอเวอร์เรตต์  เฟอรืกัสสัน  Everett Ferguson ในบทวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเสียงดนตรีใน

              คริสตจักรยุคแรก  Everett Ferguson, in a Critique of statement concerning

           the music of the early Church.  เขียนไว้มีใจความดังนี้

            การนมัสการของคริสเตียนในคริสตจักรยุคแรก  เป็นการร้องเพลงโดยไม่ใช้เครื่องดนตรี  ในศตวรรษที่สี่  มีผู้เขียนบางคนได้ตั้งข้อสังเกตระหว่างคริสเตียนที่ไม่ใช้เครื่องดนตรีกับพวกถือลัทธิในการถวายเครื่องบูชา  และพวกยิวที่ถวายเครื่องบูชาในวิหาร  ...การใช้เครื่องดนตรีอยู่ในยุคของความเป็นเด็ก  ของพลไพร่ของพระเจ้า  และเป็นการปฏิบัติของคนที่อยู่ในพระคัมภีร์เดิม  เช่นการเผาถวายเครื่องบูชา การทำพิธีสุนัด วันซะบาโต ซึ่งไม่มีการถือปฏิบัติในพระคัมภีร์ใหม่  ในพระคัมภีร์ใหม่มีการร้องเพลงโดยไม่ใช้เครื่องดนตรี  เพื่อสงบสติอารมณ์ในการมีสมาธินมัสการพระเจ้า26

     * สารานุกรม Oxford encyclopedia เกี่ยวกับดนตรี  ได้ทำการสังคายนาหลายครั้ง  แต่ทุก

              ครั้งได้อธิบายว่าคริสเตียนไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการพระเจ้า

เนื่องจากคริสเตียนยุคแรกเป็นชาวยิว  ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าดนตรีที่พวกคริสเตียนยุคแรกใช้ในคริสตจักร  เป็นเสียงดนตรีที่พวกยิวใช้ในธรรมศาลา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการร้องเพลงสรรเสริญ เพลงสดุดีโดยไม่ใช้เครื่องดนตรี27

 


24. H.M. best and D. Huttar, “Musical instruments” The Zondervan pictorial  

     Encyclopedia of the Bible, ed. Merrill C. Tenny (grand rapids, Mich: Zondervan

     Publishing House, 1975)4: 315

25. Homer Ulrich, Americana Encyclopedia (Danbury, Conn : Grolier Press, 2000), 19:650

26. Everett Ferguson, ed; “Music;” Encyclopedia of early Christianity, 2ded

     (New York : garland Publishing, 1997) 2:789

27. Anthony Pryer, “Church Music” The New Oxford companion to music, ed. Denis

     Arnold (East Kilbride, Scotlad : Oxford press, 1983), 1:388


         * เธโอโดเรท Theodoret (A.D. 390-458) ผู้นำคริสตจักรใน Syria ได้เขียนคำถามและ

             คำตอบ สำหรับคริสเตียน Orthodox  ในการตอบคำถามที่ 107 ท่านตอบว่า  การร้องเพลงประกอบกับเครื่องดนตรีเวลานมัสการ  ไม่ใช่เพียงแค่อยู่ในยุคของวัยเด็กเท่านั้น  แต่การร้องเพลงด้วยเครื่องดนตรีที่ไร้ชีวิต  มีการเต้นรำ และมีการปรบมือ  ดังนั้นการใช้เครื่องดนตรีและอื่นๆซึ่งอยู่ในยุคของวัยเด็กควรขจัดออกไป  คงเหลือไว้แค่การร้องเพลงด้วยเสียงอย่างเดียวเท่านั้น28

     * ไนซ์ต้า  Niceta (A.D. 335-414) ผู้นำคริสตจักรในทิศตะวันออกของยุโรป  ได้กล่าว

เกี่ยวกับ concept ของ การร้องเพลงเงียบ(silent singing)  ในหนังสือชื่อ On the Unity of Hymn singing  ได้เขียนไว้ดังนี้ว่า

            ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องหันมายึดพระคัมภีร์ใหม่เป็นหลัก และปฏิเสธพิธีกรรมต่างๆ เช่นการทำพิธีสุนัด วันซะบาโต การเผาถวายเครื่องบูชา การงดรับประทานอาหาร รวมทั้งสิ่งต่อไปนี้ที่ต้องล้มเลิกไปคือ  การใช้แตร การใช้พิณ รำมะนา ฉาบ และฉิ่ง  เดี๋ยวนี้เรามีเสียงที่ดีกว่ามาทดแทนเสียงเครื่องดนตรีเหล่านั้น  เสียงที่ดีกว่าเครื่องดนตรีคือ เสียงที่ออกมาจากปากของมนุษย์29

                    นักประวัติศาสตร์ยืนยันหนักแน่นว่าในช่วงสิบศตวรรษที่ผ่านมา  นักประวัติศาสตร์

เป็นพยานว่าคริสตจักรยุคแรกไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการ  พระคัมภีร์ใหม่ให้ข้อสรุปเช่นเดียวกัน  เพราะฉะนั้นเป็นการปลอดภัยที่คริสเตียนร้องเพลงปากเปล่า หรือ Vocal Music หรือ a cappella ในการนมัสการ30

     2. คำถาม Question ผู้นำยุคปฏิรูปสอนเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการอย่างไร?  What

did leaders of Restoration movement teach about using musical instruments in worship?    คำตอบ Answer :  พวกเขาสอนดังนี้  เพราะว่าพระคัมภีร์ใหม่ประกอบด้วยคำสอนของพระเยซู พระคัมภีร์ใหม่จึงเป็นต้นแบบให้คริสเตียนทั้งหลายปฏิบัติตาม  ซึ่งคริสตจักรของพระคริสต์ได้ยึดถือหลักนี้โดยเคร่งครัดมาโดยตลอด

     * อะเล็กซานเดอร์  แคมป์เบ็ลล์  Alexander Campbell  (1786-1866)  เป็นนักเขียนที่มี

              ชื่อเสียงในยุคปฏิรูป  ท่านได้เขียนตอบผู้ตั้งคำถามเกี่ยวกับการเต้นรำ  และการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการมีใจความดังนี้  

 

 

 


28. Everett Ferguson, Ibid, p.2:789

29. Locit. p, 789

30. Owen D. Olbricht.  “Featuring Studies” Truth for Today the question of instrumental

     music in worship, p.20


 ในยุคของพระคัมภีร์ใหม่  เราไม่อ่านพบว่ามีการเต้นรำในนามของศาสนา  และเราก็ไม่ได้อ่านเรื่องการใช้พิณ  ไม่มีการใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ  และไม่มีการใช้แตร  คำสั่งสอนในพระคัมภีร์ใหม่  ข้าพเจ้าไม่เห็นการเต้นรำในพระคัมภีร์ใหม่   แต่ในยุคของบรรพบุรุษ ในยุคของพวกยิว  มีการเต้นรำ31

Campbell กล่าวต่อไปว่า  การใช้เครื่องดนตรีประกอบการนมัสการในการนมัสการของคริสเตียนเป็นการนอกรีต 32

     * ไอแซค เออร์เรต  Isaac Errett (1796-1872)  เป็นบรรณาการร่วมในสาร The

Millennial Harbinger กับ Alexander Campbell ได้เขียนบทความเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการท่านกล่าวว่า

นักฟื้นฟูไม่นิยม Choir หรือกลุ่มนักร้องประสานเสียงร้องเพลงประกอบเครื่องดนตรี .... เช่นเดียวกับคริสตจักรของพระคริสต์ทั่วทุกแห่ง  ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ภาษาใด ไม่ว่าจะเป็นทาส หรือไทย  ทุกคนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในพระเยซูคริสต์เหมือนการร้องเพลงในที่ประชุมที่มีคริสเตียนมาประชุมรวมกันมากๆ  ทุกคนสามารถร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระเจ้าได้  ไม่ควรมี Choir หรือนักร้องกลุ่ม หรือเครื่องดนตรีมาช่วงชิงสิทธิของแต่ละคนในการร้องเพลงนมัสการพระเจ้า 33

     * โมเสส อี. ลาร์ด  Moses E. Lord (1818-80) เป็นกูรูในวงการ Scholar ได้ชี้ให้เห็นว่าเครื่องดนตรีไม่ควร

              นำมาใช้ประกอบการนมัสการ  ท่านสรุปไว้ดังนี้

            เราจะคัดค้านผู้ที่กระหายอยากนำเครื่องดนตรีเข้ามาในที่ประชุม  เราตอบว่าอย่างไร?  คำตอบเสียงดังลั่นจากทุกหน้าของพระคัมภีร์ใหม่  ไม่มีข้อพระคัมภีร์สนับสนุนสักแห่งเดียว  ไม่มีเลย! พระเยซูสั่งหรือเปล่า?  พระเยซูก็ไม่ได้สั่งให้ใช้  อัครสาวกเห็นด้วยกับการใช้เครื่องดนตรีหรือ?  คริสตจักรในยุคแรกๆเคยใช้เครื่องดนตรีไหม?  คำตอบคือไม่เรามองคนที่นำเครื่องดนตรีมาใช้ในคริสตจักรของพระคริสต์ในปัจจุบันนี้ว่าอย่างไร?  ข้าพเจ้าขอตอบว่า  การใช้เครื่องดนตรีเท่ากับเป็นการดูหมิ่นพระเยซู  และทำให้การนมัสการง่ายๆ แบบดั้งเดิมมัวหมอง  เราจะมองพวกที่ใช้เครื่องดนตรีเป็นอย่างอื่นไม่ได้ 34

    

31. Alexander Campbell, “Dancing” The millennial Harbinger 22, 4th ser, 1 (September

     1851): 506

32. Alexander Campbell, Ibid, p. 581-82

33. Isaac Errett, “Church Music” The millennial Harbiger 32, 4th ser, 3 (October

     1861) : 559

34. Moses E. Land, “Instrumental Music in churches and Dancing,” Lard Quarterly

     1 (March 1864) :331


     * เจ. ดับเบิลยู แมคการ์เวย์  J.W. Mc. Garvey (1829-1912)  เป็น Scholar อีกคนหนึ่ง

ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง  ท่านได้เขียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการ  ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า

 ในตอนต้นของยุคฟื้นฟูศาสนา  มีเสียงเดียวเป็นเอกฉันท์ในการปฏิเสธไม่ยอมใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการในที่ประชุม  ประกาศโจ่งแจ้งว่าการใช้เครื่องดนตรีเป็นการละเมิดพระคำของพระเจ้า  และไม่สอดคล้องกับสถาบันของคริสเตียน  ดนตรีเป็นที่มาของความขัดแย้ง ........ การเผาสัตว์เป็นเครื่องบูชา ,การประพรมด้วยโลหิต ,การเผาเครื่องหอม ,การจุดคันประทีปตลอดเวลา การปฏิบัติเหล่านี้พระเจ้ายอมรับการนมัสการ  เพราะการนมัสการดังกล่าวของพวกยิวอยู่ในพระคัมภีร์เดิม  แต่ไม่ใช่เป็นการนมัสการของคริสเตียนในยุคนี้  เพราะฉะนั้นเครื่องดนตรีก็ไม่ควรนำเข้ามาใช้ด้วย 35

สรุป : 1. การไม่เข้าใจพระคัมภีร์แบ่งออกเป็น 3 ยุคทำให้เกิดความสับสน Lack of understanding of

the 3 dispensations caused confusion.  นี่เป็นสาเหตุหนึ่งของการนำเครื่องดนตรีที่ใช้ในยุคพระคัมภีร์เดิมมาใช้ในคริสตจักรปัจจุบัน

     2. เราได้ศึกษาการใช้เครื่องดนตรีในพระคัมภีร์เดิม เราทราบว่ามีดนตรีหลากหลาย  และมีพิธีรีตองมากมาย  ถ้าเราจะนำมาใช้ในปัจจุบันเราเลือกเครื่องดนตรีอย่างเดียวไม่ได้  Old Testament used all kind of instruments music and  many rituals If we instruments we must bring others into the Church also.

3. ประวัติศาสตร์ของคริสตจักร  ยืนยันว่าไม่มีการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ  The history

confirmed that , there were no instrumental music in worship.

         (1) ไม่มีเครื่องดนตรีในธรรมศาลา  (400 B.C.-2011)  No instruments in Jewish

            Synagogue.

         (2) ไม่มีเครื่องดนตรีในสมัยคริสตจักรยุคแรกในพระคัมภีร์ใหม่ (33-100)  No

            instruments in the early Church.

         (3) ไม่มีเครื่องดนตรีในคริสตจักรบรรพบุรุษจนถึงศตวรรษที่ 18  No instruments from

            the Church fathers to the eighteenth century.

         (4) ไม่มีเครื่องดนตรีในยุคของการฟื้นฟู  (1328-1600)

         (5) ไม่มีเครื่องดนตรีในยุคของการปฏิรูป  (1861-1900)

     * เหตุผลทั้งหมดน่าจะเกินพอที่จะยืนยันว่าทำไมคริสตจักรของพระคริสต์ไม่ใช้เครื่องดนตรี

              เวลานมัสการพระเจ้า –

 

 

 


35. J.W. Mc Garvey, “Instrumental Music in Churches,” The Millennial Harbinger

     35, 5th ser, 7 (November 1864) 510-11


     * โปรดระลึกถึงถ้อยคำของพระเยซู แต่วันนั้นก็ถึงเดี๋ยวนี้แล้วคือคนทั้งหลายที่ได้นมัสการ

              อย่างถูกต้อง จะนมัสการพระบิดาโดยจิตวิญญาณและโดยความจริง เพราะว่าพระบิดาทรง

แสวงหาคนอย่างนั้นนมัสการพระองค์ 24 พระเจ้าเป็นพระวิญญาณและผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการโดยจิตวิญญาณและความจริง"” (โยฮัน 4:23-24)

 




บทความ โดยสุบิน ปั้นบุญ

การนมัสการที่พระเจ้ายอมรับ กับการนมัสการที่นอกรีต
สิ่งที่คุณเป็นคือสิ่งที่คุณทำ
หลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีความทุกข์
คนพิการสองคน
จะสื่อความให้ไพเราะเสนาะหูอย่างไร?
ทำอย่างไรเพื่อให้การนมัสการในที่ประชุมมีประสิทธิภาพ?
ช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดีในการนมัสการ
แม่รู้ผู้เดียว
บ้านที่หวานชื่น
เหตุผลดีที่จะไปโบสถ์ และเป็นคริสเตียนที่ดีจนแก่เฒ่า
ยกเว้นเฮนรี !
สิ่งที่พ่อควรใส่ใจ
อยากจะเป็นในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
อาณาจักรโรมล่มสลาย
งานฟื้นฟูอยู่ที่ไหน?
บริจาคสำหรับซาตาน
การฝึกสอนเด็ก
การอุทิศตน
โอพระเจ้า โปรดเห็นใจเถอะ!
ภาพสะท้อนของคนอหังการ
การถ่อมสุภาพ
การยกโทษ
การเจริญเติบโตขึ้น
ความรักมีอานุภาพ
เอลวิส เพรสลีย์ กลายเป็นรูปเคารพ
พระเจ้ายิ่งใหญ่
ภรรยาควรปฏิบัติตัวต่อสามีอย่างไร?
สมมุติว่าพระเยซูไม่ได้เกิดมาอะไรจะเกิดขึ้น?
ปฏิกิริยาของผู้ไม่เชื่อพระเจ้า
พระเจ้าเป็นหนี้บุญคุณเราหรือเปล่า?
คำเทศนาที่สมดุล
ลัทธินอกรีต
เชื่อกับไม่เชื่อ
ผู้ไม่เชื่อพระเจ้าขัดแย้งกับศาสนาคริสต์
ทำกับคนในครอบครัวของท่านก่อน
ทำไมเราควรไปร่วมประชุมเพื่อนมัสการพระเจ้า?
มีนัดกับพระเจ้าแล้ว
ชีวิตที่แตกต่าง
ทำการดีประจำวัน
จงฝันใหญ่, แต่จงโฟกัสอยู่ที่รายละเอียดจุดเล็กๆ
หลักการในการถวายทรัพย์ตามแบบพระคัมภีร์
คนโบราณเตือนคนสมัยใหม่
คำเทศนาที่ทรงพลัง
นักเทศน์ชนิดต่างๆ
การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงชนิดต่างๆ
ใครที่คิดว่าเป็นผู้อยู่ในฝ่ายวิญญาณจิตต์
ความสามรถในการวินิจฉัยมีคุณค่ามหาศาล
รอยเท้าเป็นหลักฐาน
ความเมตตาปราณีทำให้โลกน่าอยู่น่าอาศัย
พ่อแม่เป็นคริสเตียนแต่ไม่ไปโบสถ์
พระคัมภีร์แห่งชีวิต article
บัญญัติ 10 ประการเพื่อปรับปรุงคริสตจักรให้ดีขึ้น article
พระเยซูเป็นตัวอย่าง article
เหตุผลดีที่จะไปโบสถ์ และเป็นคริสเตียนที่ดีจนแก่เฒ่า
คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 6
คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 5
คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 3
ประวัติโดยย่อของคริสตจักร มิตรภาพ
ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการได้ไหม?
การนมัสการคืออะไร?
ทำไมคริสตจักรของพระคริสต์ไม่ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการพระเจ้า



Copyright © 2011 All Rights Reserved.

คริสตจักรของพระคริสต์ มิตรภาพ
ที่อยู่ :  เลขที่ 838 ซ.ดาราฉาย อ่อนนุช 46 เขต :  สวนหลวง แขวง : สวนหลวง
จังหวัด : กรุงเทพฯ      รหัสไปรษณีย์ :10250
เบอร์โทร :  02-321-1099