ReadyPlanet.com
dot dot
dot
ปฏิทินกิจกรรม
dot
bulletโรงเรียนภาคฤดูร้อน
bulletงานรวมพี่รวมน้อง
bulletงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
bulletกิจกรรมทุกวันเสาร์(สัปดาห์ที่ 3 และ 4 ของเดือน)
bulletข่าวสารของคริสตจักร มิตรภาพ
dot
สื่อมัลติมีเดีย ของคริสตจักร
dot
bulletคำเทศนาเรื่อง การใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ
bulletเพลงสรรเสริญพระเจ้า (Eng)
dot
รอบรั้ว คริสตจักรของพระคริสต์ มิตรภาพ
dot
bulletสมาชิกที่มิตรภาพ
dot
หนังสือต่างๆ ของทางคริสตจักร
dot
bulletหนังสือที่น่าสนใจ
dot
บทความ โดยสุบิน ปั้นบุญ
dot
bulletบทความ โดยสุบิน ปั้นบุญ
bulletหนังสือ และบทความ
bulletคริสเตียนใหม่
bulletงานฟื้นฟูประจำปี
bulletสมัครบทเรียนทางไปรษณีย์...ฟรี
bulletเว็บเพจ และข่าวสาร ของ คริสตจักร (มิตรภาพ)
bulletบทความในวารสาร ของคริสตจักร


แบนเนอร์ตัวอย่าง


คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 3

คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 3

QUESTION OF INSTRUMENTAL MUSIC IN WORSHIP.

การใช้ดนตรียุคต่างๆ # 1  MUSIC IN THE DIFFERENT AGES .

(2ติโมเธียว 2:15-16)จงอุตส่าห์สำแดงตนให้เป็นที่พอพระทัยพระเจ้า เป็นคนงานที่ไม่ต้องอาย เพราะเป็นคนที่ซื่อตรงในการที่ใช้คำแห่งความจริงนั้น 16 แต่จงหลีกไปเสียจากถ้อยคำนอกคอกนอกทาง ด้วยว่าคำเหล่านั้นย่อมก่อให้เกิดอธรรมมากยิ่งขึ้น

เฮ็บราย 8:8-9,12-13 8 ด้วยว่ามีคำกล่าวติไว้ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า "นี่แน่ะจะมีวันหนึ่งเมื่อเราจะกระทำคำสัญญาไมตรีใหม่กับวงศ์วานของยิศราเอลและกับวงศ์วานของยะฮูดา 9 จะไม่เหมือนคำสัญญาไมตรีที่เราได้กระทำกับบรรพบุรุษของเขาในคราวเมื่อเราได้จูงมือนำเขาทั้งหลายออกจากประเทศอายฆุบโต ด้วยว่า" องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า "เขาเหล่านั้นไม่ได้มั่นอยู่ในคำสัญญาไมตรีของเรา เราจึงได้ละเขาไว้" แต่องค์พระผู้เป็นเจ้าตรัสว่า 12 ด้วยว่าเราจะกรุณาต่อการอธรรมของเขาทั้งหลาย และความผิดของเขานั้นเราจะไม่ระลึกถึงต่อไปเลย" 13 ที่พระองค์ตรัสว่า คำสัญญาไมตรีใหม่ พระองค์จึงได้ทรงกระทำให้คำสัญญาไมตรีเดิมนั้นเก่าไปแล้ว ฝ่ายสิ่งที่เก่าและแก่ไปนั้นใกล้จะสูญไปแล้ว

คำนำ : 1. ที่จะเข้าใจพระคัมภีร์ให้ถูกต้อง  จะต้องรู้จักแบ่งพระคัมภีร์ตามยุคให้ถูกต้อง   In order

to understand the Bible one must rightly dividing the word of truth.  พระคัมภีร์แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือ พระคัมภีร์เดิมมี 39 เล่ม ซึ่งไม่มีผลบังคับใช้ในสมัยปัจจุบัน  เพราะถูกยกเลิกไปแล้ว  (เฮ็บราย 8:8-13, โกโลซาย 2:14-16,

ฆะลาเตีย 3:24, 2โกรินโธ 3:11-14)

14 พระองค์ได้ทรงฉีกสารกรมธรรม์ซึ่งได้แต่งไว้ในบัญญัติต่างๆ ซึ่งเป็นที่ขัดขวางและต่อสู้เรา และได้ทรงหยิบเอาไปเสียให้พ้น โดยทรงตรึงไว้ที่กางเขนนั้น 15 พระองค์ได้ทรงทำลายผู้มีบรรดาศักดิ์และผู้มีฤทธิ์ พระองค์ได้ทรงประจานเขา และเอาชัยชนะต่อเขาได้โดยกางเขนนั้น16 เหตุฉะนั้นอย่าให้ผู้ใดพิพากษาปรักปรำท่านในเรื่องการกินหรือการดื่มหรือการถือวันเลี้ยงหรือวันต้นเดือนหรือวันซะบาโต 

(โกโลซาย 2:14-16)

ส่วนที่สองเรียกว่าพระคัมภีร์ใหม่ มี 27 เล่ม  ซึ่งมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่พระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนจนถึงวันสิ้นโลก (โยฮัน 12:48)  ถ้าไม่เข้าใจหลักพื้นฐานตรงนี้จะทำให้เกิดการเข้าใจผิดและสับสนวุ่นวาย  จับโน่นชนนี่ตีรวนไปหมด  เหมือนใส่ jigsaw ไม่ลงตัว

* ทั้ง 66 เล่มแบ่งออกเป็น 3 ยุค  ยุคแรก : คือยุคบรรพบุรุษ  ตั้งแต่ปฐมกาลจนถึงโมเซรับ

 พระบัญญัติที่ภูเขาซีนาย  ยุคบรรพบุรุษหัวหน้าครอบครัวทำหน้าที่ติดต่อกับพระเจ้า  หัวหน้าครอบครัวถวายเครื่องบูชาเอง  ยุคที่สอง : คือยุคโมเซ  ตั้งแต่โมเซรับพระบัญญัติ 10 ประการบนภูเขาซีนายจนถึงพระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน  ยุคโมเซ  พระเจ้ามีระบบปุโรหิตถวายเครื่องบูชา  พระเจ้าตรัสทางผู้พยากรณ์ และผู้นำต่างๆ   ยุคที่สาม : คือยุคคริสเตียน  นับตั้งแต่พระเยซูสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนจนสิ้นโลก  (เฮ็บราย 9:15-19)

     * สำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจ 3 ยุคให้ถูกต้อง  It is importance we must understand

these three ages.  เพราะความสับสนในคริสตจักรเกิดจากการไม่เข้าใจพื้นฐานความจริงนี้  ยกตัวอย่างการใช้เครื่องดนตรีคนยกแบบการนมัสการจากพระคัมภีร์เดิมมาเป็นอำนาจในการใช้เครื่องดนตรีในยุคของคริสเตียน  อีกตัวอย่างที่ยกมาใช้เสมอก็คือ  โจรบนไม้กางเขนไม่ต้องรับบัพติศมา  นิกายบางกลุ่มสรุปว่าโจรบนไม้กางเขนไม่รับบัพติศมาเพราะฉะนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องรับบัพติศมา  ความจริงคือว่าโจรบนไม้กางเขนอยู่ในยุคของพระคัมภีร์เดิม ไม่ใช่อยู่ภายใต้พระคัมภีร์ใหม่

     2. มีข้อความเกี่ยวกับการนมัสการพระเจ้า  ด้วยการร้องเพลงมากในพระคัมภีร์เดิม  โดยเฉพาะในบท

เพลงสรรเสริญ  Allusions to worship of God in Song. Are found throughout Old Testament most frequently in the Book of Psalms.  มีการใช้เครื่องดนตรีชนิดต่างๆในพระคัมภีร์เดิม  ซึ่งเราไม่ปฏิเสธว่าพวกเขาได้ใช้  แต่สิ่งที่พวกเราปฏิเสธคือว่าเราอยู่ภายใต้คำสัญญาไมตรีใหม่

เรื่องดนตรีใช้โดยผู้ที่นมัสการพระเจ้าซึ่งอยู่ภายใต้พระบัญญัติของโมเซ    รวมทั้งยุคก่อนหน้านี้  เราจะพิจารณาดูว่าพระเจ้าเห็นอย่างไรในการนมัสการของพวกเขา  จะช่วยให้เราเข้าใจลึกๆว่าพระเจ้าประสงค์อะไรจากคริสเตียนในยุคปัจจุบันนี้

       * ทบทวนบทเรียนครั้งที่แล้ว ใช้เครื่องดนตรีนมัสการได้ไหม?

            (1) ประวัติศาสตร์บอกว่า คริสตจักรยุคแรกไม่ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ ออร์แกนได้

                  นำเข้ามาใช้เมื่อ ค.ศ. 660 โดย Pope Vitatline.

            (2) รูปแบบการนมัสการไม่ใช่เครื่องดนตรีตามแบบธรรมศาลา

            (3) ดนตรี ใน N.T. เป็นการร้องเพลงด้วย Vocal music.

I. ดนตรีในพระคัมภีร์เดิม  MUSIC IN THE OLD TESTAMENT.

   1. ดนตรีในหนังสือหมวดพระบัญญัติ 5 เล่ม The Pentateuch

    * เยเนซิศ 4:21  ยาบาลเชื้อสายของคายิน สามารถเล่นเครื่องดนตรีได้ (นี่ไม่ใช่การนมัสการ)

    * ยเนซิศ 31:27 ลาบานตำหนิยาโคบ หลบหนีมาโดยไม่มีการเลี้ยงส่งด้วยการขับร้องด้วย

            รำมะนา และเครื่องสาย (นี่เป็นเลี้ยงฉลองไม่ใช่การนมัสการ)

    * เอ็กโซโด 15:1-18  เมื่อโมเซและชนชาติยิศราเอล ข้ามทะเลแดงได้พากันร้องเพลงถวาย

            พระเจ้า (นี่เป็นการร้องเพลงแสดงความปิติยินดีและขอบคุณพระเจ้า)

    * เอ็กโซโด 15:20-21 มิระยามพี่สาวโมเซ และหญิงทั้งปวงร้องเพลง และเต้นรำด้วยรำมะนา

    * พระบัญญัติ 31:19-22  บทเพลงที่บรรยายถึงเรื่องราวของยิศราเอลที่ออกมาจากอียิปต์

    * อาฤธโม 10:1-2  พระเจ้าสั่งให้โมเซทำแตรสองอันด้วยเงินเพื่อเป็นสัญญาณต่างๆ –

             สรุป ชนชาติยิศราเอลมีประเพณีการฉลองด้วยการร้องเพลง และมีการเต้นรำ แต่ไม่ใช่การ

        นมัสการในคริสตจักร

    2. ดนตรีในหนังสือหมวดประวัติศาสตร์ 12 เล่ม  The historical books  ในหมวดนี้มีการ

        กล่าวถึงการร้องเพลงมาก

    * ผู้วินิจฉัย 5 ดะโบรากับบาราคแต่งเพลงร้องหลังจากประสบชัยชนะซีซะราแม่ทัพคะนาอัน

    * ผู้วินิจฉัย 11:34  เมื่อยิพธา กลับมาจากทำสงครามลูกสาวออกมาต้อนรับด้วยการเต้นรำ

            กับฉาบ

    * 1ซามูเอล 10,5,10 ซาอูล  หลังจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์ ซาอูลได้พบกับผู้

 ทำนายถือพิณ รำมะนา ขลุ่ย และกระจับปี่

    * 1ซามูเอล 16:6-7 ดาวิด หลังจากที่ดาวิดกลับจากทำสงครามชนะฟะลิศตีม พวกผู้หญิง

            ร้องเพลงเต้นรำบ้างเล่นรำมะนา บ้างเล่นเครื่องดนตรีต่างๆ

    * 1ซามูเอล 16:14-23,18:10 ,19:9  ดาวิดดีดพิณให้กษัตริย์ซาอูล

    * 2ซามูเอล 6:5 ดาวิดย้ายหีบสัญญาไมตรีจากบ้านอะบีนาดาบ มีการประโคมเพลงด้วยมโหรี, 

            กระจับปี่ ,พิณสิบสายรำมะนา , ฉิ่งและฉาบ

    * 1โครนิกา 6:31-32  ก่อนที่ซะโลโมสร้างวิหาร  ดาวิดได้จัดให้มีผู้ที่จะร้องเพลงต่อหน้า

            พลับพลา

    * 1โครนิกา 25:1-8  ดาวิดได้จัดให้มีกลุ่มนักร้องทั้งหญิงและชาย 288 คนที่ชำนาญในการ

            ใช้เครื่องดนตรี เช่น กระจับปี่ ,ซอ ,ฉิ่งฉาบ, แตร ฯลฯ (ครั้งแรกที่กล่าวถึงการร้องเพลง

            ประกอบเครื่องดนตรี)

    * 2โครนิกา 29:25 ท่านได้ตั้งพวกเลวีในโบสถ์วิหารของพระยะโฮวาให้มีฉิ่ง ฉาบ รำมะนาและพิณสิบ

             สายตามคำสั่งของดาวิดและคำสั่งของฆาดผู้สำเร็จฌานของกษัตริย์และคำของนาธานผู้พยากรณ์ ด้วยว่าพระยะโฮวาได้ทรงบัญญัติไว้อย่างนั้นโดยพวกผู้พยากรณ์ของพระองค์

             Adam Clark  กล่าวว่า  แม้ว่าการใช้เครื่องดนตรีกำหนดไว้ในพระบัญญัติ  เราไม่

             ควรใช้เป็นข้ออ้างในการใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการของคริสเตียน?1

    * 2โครนิกา 5:12-14  เมื่อกษัตริย์ซะโลโมฉลองวิหารที่สร้างเสร็จมีปุโรหิต 120 คน เป่าแตร

            มีนักร้องและเครื่องดนตรีชนิดต่างๆที่ใช้ในโอกาสนั้นเช่น  ฉิ่งฉาบ กระจับปี่ พิณสิบสาย

    * 2โครนิกา 29:25,27  ในสมัยกษัตริย์ฮิศคียาปฏิรูปมีพวกเลวีในวิหารใช้เครื่องดนตรี

             ประโคมเพลงด้วยฉาบฉิ่ง  พิณ และรำมะนา  ที่ประชุมก็ได้นมัสการเมื่อประโคมดนตรี

   

1. Adam Clark , The Holy Bible containing the Old and New Testament : A   

   Commentary with Critical Notes (Nashville : Abingdon , n.d.)  2:690

 

    * 2โครนิกา 29:25-27  กษัตริย์ฮีศคียาได้ตั้งพวกเลวีในวิหารให้บรรเลงด้วยฉิ่ง ,ฉาบ ,

            รำมะนา และพิณสิบสาย การบรรเลงดนตรีต้องทำต่อหน้าเนื่องจนเสร็จการบูชาด้วยเพลิง   

    * 2โครนิกา 35:25  ยิระมะยาได้แต่งเพลงคร่ำครวญกล่าวถึงกษัตริย์โยซียา  มีพวกร้องเพลง

ทั้งชายและหญิงพากันร้องเพลงพรรณนาถึงโยซียาจนถึงทุกวันนี้ 

      สรุปว่ายุคประวัติศาสตร์ของยิศราเอลมีการใช้เครื่องดนตรีในโอกาสต่างๆ  แต่ไม่ใช่นมัสการในคริสตจักร

    3. ดนตรีในหนังสือหมวดผู้พยากรณ์  The prophets.

    * ยะซายาได้กล่าวถึงการร้องเพลง 23 ครั้ง  ในจำนวนนั้น 15 ครั้งเป็นการร้องเพลงของ

            มนุษย์ 3  และ7 ครั้ง เป็นภาพพจน์ ร้องเพลงบนโลกนี้  บนภูเขาในสวรรค์ 4  การร้องเพลงที่ยะซายากล่าวถึงเป็นการร้องเพลงด้วยความชื่นชมยินดี  ไม่มีเครื่องดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง  มีอยู่สองครั้งที่เครื่องดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง  ยะซายาเปรียบเมืองตุโรเหมือนหญิงแพศยาที่จะประสบความพินาศสมัยนะบูคัศเนซัร  คนหลงลืมเสียงดีดพิณ  (ยะซายา 23:26)  อีกข้อหนึ่งกล่าวถึงเครื่องดนตรีคือ ยะซายา 30:29  เป่าขลุ่ยไปบนภูเขา  ยะซายา 38:20  ข้อเดียวกล่าวถึงเล่นมโหรี และเครื่องสายในวิหารสมัยของฮิศคียา

    * ยิระมะยากล่าวถึงการร้องเพลง 3 ครั้ง  (ยิระมะยา 31:7,12, 51:48)  หนึ่งครั้งเป็นการ

           ส่งเสียงร้องด้วยความยินดี

    * ยะเอศเคลพยากรณ์ว่า  เสียงร้องเพลง และเสียงพิณจะไม่ได้ยินต่อไปที่เมืองตุโร  (26:13) 

            ยะเอศเคลเปรียบเหมือนคนที่มีเสียงดี  และดุจผู้ที่ดีดเครื่องดนตรีไพเราะ  (33:32)  ในศุภนิมิตที่ยะเอศเคลได้เห็นมีคนร้องเพลงในวิหาร  (40:44)

    * อาโมศ 6:5 กล่าวถึงยิศราเอลขับเพลงด้วยเสียงพิณ สำหรับตัว  ดื่มน้ำองุ่น  ชโลมตัวด้วย

น้ำมัน  (อาโมศ 6:5)  อาโมศบอกว่าพระเจ้าจะไม่ฟังเสียงพิณที่บรรเลงโดยคนอธรรม  (อาโมศ 5:23) อาโมศบอกชนชาติยิศราเอลว่าเสียงเพลงและเสียงพิณในราชวังจะกลายเป็นเสียงพิลาปร่ำไห้

    * เครื่องดนตรีหลายชนิดบรรเลงในการกราบไหว้รูปเคารพที่นะบูคัศเนซัรได้สร้างขึ้น 

            (ดานิเอล 3:5-15)

    * ซะฟันยา 3:14 ได้เรียกร้องให้บุตรีกรุงซีโอนร้องเพลง

 


3. ยะซายา 5:1; 16:10 ;23:15,16; 24:14 ;26:19; 27:2; 30:29; 35:6,

   10; 38:20; 42:10; 48:20; 51:8; 54:1, 65:14

4. ยะซายา 14:7; 35:2; 42:11; 44:23; 49:13; 52:9; 55:12

 

    4. ดนตรีในหมวดวรรณคดี  Music in the Literatures.

    *ยบบอกว่าเขาทำให้ใจของแม่ม่ายร้องเพลงด้วยความยินดี  (โยบ 29:13)

    * สุภาษิตกล่าวถึงคนโง่ที่ร้องเพลง ให้คนที่กำลังกลุ้มใจฟัง  (สุภาษิต 29:6)

    * ผู้ประกาศกษัตริย์ซะโลโมมีนักร้องชายและหญิงและนางบำเรอ  (ท่านผู้ประกาศ 2:8)

    * บทเพลงสรรเสริญมีทั้งหมด 150 บท มี 69 บทที่เป็นการโห่ร้องด้วยความยินดีไม่มีเครื่อง

            ดนตรี 5 

            บทเพลงสรรเสริญ 5:11 แต่ขอให้บรรดาผู้ที่อยู่ในความอารักขาของพระองค์มีใจชื่นชมยินดี ให้เขาโห่ร้องเป็นนิตย์ด้วยใจร่าเริง เพราะพระองค์ทรงป้องกันเขาไว้ ให้คนทั้งปวงที่รักพระนามของพระองค์มีใจเบิกบานในพระองค์ด้วย 

            มี 9 บทที่ใช้ปากเป็นเครื่องดนตรีในการส่งเสียงร้องเพลง 6

            บทเพลงสรรเสริญ 71:23-24 ริมฝีปากของข้าพเจ้าและจิตวิญญาณของข้าพเจ้าที่พระองค์ทรงไถ่ไว้แล้วนั้นจะเปล่งเสียงยินดีเมื่อข้าพเจ้าร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ 24 ลิ้นของข้าพเจ้าจะเล่าถึงความชอบธรรมของพระองค์ตลอดวันยังค่ำด้วยเพราะว่าคนทั้งหลายที่ปองร้ายข้าพเจ้าต้องอายอดสู ต้องหกคะเมน

             มี 16 บทใช้เครื่องดนตรี 7  เช่น บทเพลงสรรเสริญ 33:2 จงขอบพระเดชพระคุณพระยะโฮวา

             ด้วยดีดกระจับปี่ จงร้องเพลงสรรเสริญพระองค์ด้วยดีดพิณสิบสาย

    * ไม่มีใครสงสัยว่าภายใต้พระบัญญัติ  พวกเลวีร้องเพลงประกอบเครื่องดนตรี  มีริ้วขบวน

นักร้องชายหญิง ประกอบด้วยเครื่องดนตรี  บทเพลงสรรเสริญ 68:24-25 ข้าแต่พระเจ้า เขาทั้งหลายได้เห็นการเสด็จของพระองค์ กระทั่งการเสด็จแห่งพระเจ้าของข้าพเจ้าพระบรมมหากษัตริย์ของข้าพเจ้าเข้าไปในที่บริสุทธิ์ เขาก็เห็นพวกนักร้องนำหน้า พวกนักดนตรีเดินตามหลัง 25 การบรรเลงโทน รำมะนาก็มีในท่ามกลางสตรีสาว

    * บทเพลงสรรเสริญ 150:1-6  กล่าวถึงการร้องเพลงด้วยวงดนตรี  Orchestraท่าน

ทั้งหลายจงสรรเสริญพระยะโฮวา จงสรรเสริญพระองค์ในพระวิหารของพระองค์ จงสรรเสริญพระองค์ในท้องฟ้าที่สำแดงฤทธิ์เดชของพระองค์ 2 จงสรรเสริญพระองค์เพราะการอิทธิฤทธิ์ของพระองค์ จง

 

 


5. โปรดดู บทเพลงสรรเสริญ 5:11;7:17 ; 9:2,11 ;13:6; 18:49;

   21:13;27:6;30:4;40:3; 42:8; 47:6,7; 59:16,17; 61:8; 63:7; 68:4, 69:30; 75:9; 95:2;

   96:1-2; 100:1-2; 101:1; 104:33; 105:2,43 – Richard E. Wolfe, songs, Cymbals, and

   Tambourines (Nashville : 21st century Christian, 1998) 74

6. ตัวอย่าง เช่น บทเพลงสรรเสริญ 40:3; 63:5; 71:8; 89:1; 109:30, 145:21 (Ibid)

7. ตัวอย่างเช่น บทเพลงสรรเสริญ 33:2; 45:8; 57:7-8; 68:25; 71:22; 81:2-3; 92:2-3; 98:5;

   108:2; 144:9; 147:7; 149:3; 150:1-6 (Ibid 75-80)

 

สรรเสริญพระองค์ให้สมกับพระลักษณะใหญ่ยิ่งบริบูรณ์ของพระองค์ 3 จงสรรเสริญพระองค์ด้วยเสียงแตร จงสรรเสริญพระองค์ด้วยเสียงขลุ่ยและเสียงพิณ 4 จงสรรเสริญพระองค์ด้วยเสียงรำมะนาและจับระบำ จงสรรเสริญพระองค์ด้วยเครื่องดีดสีตีเป่า 5 จงสรรเสริญพระเจ้าด้วยเสียงฉิ่งเสียงฉาบ จงสรรเสริญพระองค์ด้วยฉาบอันมีเสียงดังสนั่น 6 ให้สรรพสัตว์ที่มีลมหายใจสรรเสริญพระยะโฮวา ท่านทั้งหลายจงสรรเสริญพระยะโฮวาเถิด

    * ห็นแล้วว่าบทเพลงสรรเสริญบางบท  เป็นการสรรเสริญส่วนตัว  Some psalms are

personal declaration. The psalmist was praising God in a private, personal setting.  นี่ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราถกเถียงกันเป็นเวลาร้อยปีที่ผ่านมา  คำถามเก่าแก่ที่ถามก็คือว่า  เราใช้เครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลงในคริสตจักรได้หรือเปล่า?  และไม่ใช่การปฏิบัติเป็นการส่วนตัว หรือคนในยุคพระคัมภีร์เดิมเขาใช้เครื่องดนตรีเราก็เหมาเอาว่า  ถ้าเขาใช้เครื่องดนตรี  แสดงว่าเราในยุคนี้ก็ใช้ได้  ข้อสรุปดังกล่าวอ่อนมาก

    * ผู้ที่พยายามจะยกบทเพลงสรรเสริญเพื่อสนับสนุนการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการควรมองดู

            อีกมุมหนึ่ง  มีหลายสิ่งที่บทเพลงสรรเสริญได้กล่าวไว้  ที่ไม่ได้นำมามีส่วนในการนมัสการในคริสตจักรของพระคริสต์ในปัจจุบัน

·          การเต้นรำ  (บทเพลงสรรเสริญ 149:3,30:11;150:4)

·          การใช้เครื่องหอม (บทเพลงสรรเสริญ 141:2)

·          พรรณาให้ร้ายพวกศัตรู  (บทเพลงสรรเสริญ 109:7;137:9)  พระเยซูสอนให้

     อธิษฐานเผื่อศัตรู

·          มีการตะโกนโห่ร้อง  (บทเพลงสรรเสริญ 47:1; 81:1)

·          มีการปรบมือ  (บทเพลงสรรเสริญ 47:1)

·          มีการเป่าแตร  (บทเพลงสรรเสริญ 81:3)

·          มีกระบวนแห่แหน  (บทเพลงสรรเสริญ 42:4; 68:24-25)

·          มีการถวายสัตว์เป็นเครื่องบูชา  (บทเพลงสรรเสริญ 51:19)

·          มีการชูมือขึ้น  (บทเพลงสรรเสริญ 26:6)

·          หันหน้าไปที่วิหารกรุงยะรูซาเล็ม  (บทเพลงสรรเสริญ 5:7)

                  คนที่ยกบทเพลงสรรเสริญเป็นใบเบิกทาง  ให้ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการได้  ทำไมเขาไม่

            ปฏิบัติตามสิ่งอื่นๆที่บทเพลงสรรเสริญกล่าวไว้ทั้งหมดนำมาใช้ในคริสตจักรในปัจจุบันนี้ล่ะ?   เพราะเขารู้ว่าสิ่งเหล่านี้พระเจ้าไม่อนุญาตให้นำมาใช้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ 

            คริสเตียนไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกปฏิบัติตามพระคัมภีร์บางข้อ  และเลือกไม่ปฏิบัติบางข้อที่เราไม่พอใจอย่างนั้นหรือ?  ความจริงคือว่า  การร้องเพลงสรรเสริญเป็นการส่วนตัว หรือในที่ประชุม  หรือในวิหาร  มีทั้งเครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลง  การปฏิบัติตามสิ่งเหล่านั้น

             เพราะพระเจ้าอนุญาตให้ใช้ในพระคัมภีร์เดิม  เงื่อนไขในยุคคริสเตียนต้องรับบัพติศมา  เงื่อนไขในยุคของบรรพบุรุษและยุคของโมเซคนจะต้องปฏิบัติตามกฎของยุคนั้นๆ  ในยุคบรรพบุรุษหัวหน้าครอบครัวถวายเครื่องบูชา  ในยุคคริสเตียนพระเยซูเป็นเครื่องบูชาครั้งเดียวเพื่อมนุษย์ทั้งปวง (เฮ็บราย 9:22) เราไม่ต้องถวายเครื่องบูชาเหมือนพวกยิวที่อยู่ภายใต้พระคัมภีร์เดิม  เราไม่ต้องถือปัศคาเหมือนพวกยิวในพระคัมภีร์เดิม

    * คนที่ใช้เครื่องดนตรีให้เหตุผลว่า  ในพระคัมภีร์เดิมเขาใช้เครื่องดนตรี  เพราะฉะนั้นเราก็ใช้

 เครื่องดนตรีในปัจจุบันนี้ได้  พวกนิยมการเปลี่ยนแปลงกล่าวว่า คุณจะใช้หรือไม่ใช้ก็ได้มันอยู่ที่ใจ  ถ้าคุณจริงใจสะอย่าง อย่าไปว่าคนอื่นที่เขาใช้

               โปรดพิจารณาการสนทนาระหว่างพระเยซูกับหญิงซะมาเรีย

     บรรพบุรุษของพวกเราย่อมนมัสการที่ภูเขานี้แต่พวกท่านว่าตำบลที่ควรนมัสการนั้นคือยะรูซาเลม" (โยฮัน 4:20)  พระเยซูน่าจะตอบหญิงชาวซะมาเรียว่า ไม่เป็นไร พวกเธอนมัสการที่ภูเขาเฆระซิม  ก็ทำอย่างนั้นต่อไป ส่วนพวกเราจะนมัสการที่กรุงยะรูซาเล็ม  แต่พระเยซูตอบเธอว่า "หญิงเอ๋ย เชื่อเราเถิด คงมีวันหนึ่งที่พวกเจ้าจะมิได้ไหว้นมัสการพระบิดาเฉพาะที่ภูเขานี้หรือที่ยะรูซาเลม(ข้อ 21) ข้อ 23-24 แต่วันนั้นก็ถึงเดี๋ยวนี้แล้วคือคนทั้งหลายที่ได้นมัสการอย่างถูกต้อง จะนมัสการพระบิดาโดยจิตวิญญาณและโดยความจริง เพราะว่าพระบิดาทรงแสวงหาคนอย่างนั้นนมัสการพระองค์ 24 พระเจ้าเป็นพระวิญญาณและผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการโดยจิตวิญญาณและความจริง"  พระเยซูตอบหญิงซะมาเรียว่าวันนั้นก็มาถึงเวลาเดี๋ยวนี้แล้วที่คนจะไม่นมัสการพระเจ้าที่ภูเขาเฆราซิม  หรือที่กรุงยะรูซาเล็ม  คนทั้งหลายที่นมัสการอย่างถูกต้องจะนมัสการด้วยจิตวิญญาณและความจริง

                ถ้าพระเยซูบอกว่ามีการนมัสการอย่างถูกต้อง  ก็หมายความว่ามีการนมัสการอย่างไม่

            ถูกต้อง  การนมัสการที่ถูกต้องก็คืออยู่ในกรอบของพระคำของพระเจ้า  คือด้วยจิตวิญญาณและความจริง  (รายละเอียดได้ชี้แจงไปในบทเรียนครั้งที่แล้ว)

II. การใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ  หลังจากคริสตจักรยุคแรกจนถึงศตวรรษที่สิบแปด 

      MUSIC IN WORSHIP FROM THE EARLY CHURCH TO EIGHTEENTH CENTURY.

   เราพิจารณาการใช้เครื่องดนตรีในพระคัมภีร์เดิม และพิจารณาการใช้เครื่องดนตรีในพระคัมภีร์ใหม่และในธรรมศาลาเราพบว่า  ในพระคัมภีร์เดิมมีรูปแบบการใช้เครื่องดนตรีประกอบการร้องเพลงที่หลากหลาย  ทั้งเป็นการส่วนตัว เป็นการฉลอง เป็นการนมัสการในวิหาร ด้วยท่าทางและกระโดดโลดเต้นปรบมือ ฯลฯ  แต่กิจกรรมในพระคัมภีร์เดิมเหล่านี้  จัดอยู่ในยุคของบรรพบุรุษและยุคของโมเซ  พระคัมภีร์เดิมมีการปฏิบัติต่างๆมากมายนอกเหนือจากการใช้เครื่องดนตรี  สิ่งเหล่านี้ได้หมดหน้าที่แล้ว

 

·     เฮ็บราย 10:1 โดยเหตุที่พระบัญญัตินั้นได้เป็นแต่เงาของสิ่งดีที่จะมาภายหน้า มิใช่ตัวจริงแห่งของสิ่งนั้นทีเดียว พระบัญญัตินั้นจะใช้เครื่องบูชาที่เขาถวายทุกปีๆ เสมอมากระทำให้ผู้ถวายสักการบูชานั้นถึงที่สำเร็จไม่ได้ 

·     ฆะลาเตีย 3:23-25 แต่เมื่อความเชื่อยังไม่มา เราทั้งหลายถูกพระบัญญัติกักตัวเราไว้ จนความเชื่อที่จะสำแดงให้ปรากฏภายหลังนั้นมาถึงแล้ว 24 เหตุฉะนั้นพระบัญญัติจึงเป็นครูสอนซึ่งนำเราให้มาถึงพระคริสต์ เพื่อเราจะได้ความชอบธรรมโดยความเชื่อ  25 แต่ครั้นความเชื่อมาแล้ว เราหาได้อยู่ใต้บังคับครูสอนต่อไปไม่

           จากการศึกษาในพระคัมภีร์ใหม่เราพบว่า  ไม่มีการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ  พระคัมภีร์ 10 ข้อที่ปรากฏในพระคัมภีร์ใหม่  บอกแต่เพียงว่า ร้องเพลงปากเปล่า หรือ Vocal Music หรือ Cappella  และเราได้ศึกษาประวัติศาสตร์  การนมัสการของพวกยิวในธรรมศาลา  เราพบว่าไม่ปรากฏว่าใช้เครื่องดนตรี  และเราพบว่าการนมัสการของคริสตจักรยุตแรกปฏิบัติตามแบบแผนการนมัสการของพวกยิวในธรรมศาลา  ก้าวต่อไปเราพิจารณาประวัติศาสตร์การใช้เครื่องดนตรีตั้งแต่คริสตจักรยุคแรกจนถึงศตวรรษที่สิบแปด

      ก. ดนตรีในการนมัสการยุคคริสตจักรบรรพบุรุษในศตวรรษแรก  Music in worship during

the Church fathers in the first century.   คริสตจักรบรรพบุรุษคือกลุ่มผู้นำคริสเตียนที่เข้มแข็งยุคต่อจากพวกอัครสาวก  หลายคนเป็นลูกศิษย์ของอัครสาวก  คริสเตียนบรรพบุรุษในศตวรรษแรกได้เขียนหนังสือไว้เพื่อเราจะเสาะหาหลักฐานมายืนยัน  จริงอยู่นักเขียนคริสเตียนบรรพบุรุษเหล่านี้ไม่ได้รับการดลใจก็ตาม  แต่สิ่งที่พวกเขาเขียนไว้เป็นการเชื่อมโยงต่อเนื่องจากยุคของอัครสาวกถึงยุคคริสเตียนบรรพบุรุษได้เป็นอย่างดี  เพราะ

คริสเตียนบรรพบุรุษเขียนและพูดเป็นภาษากรีก  เหมือนกับผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ทุกคน  เพราะฉะนั้นข้อเขียนของคริสเตียนบรรพบุรุษสามารถช่วยให้เราเข้าใจสิ่งที่พวกเขาเขียนเป็นภาษากรีกได้

           1. ไฟโลนักเขียนชาวยิวแห่งเมืองอะเล็กซานเดรียในศตวรรษแรก  Philo the first century

Jewish of Alexandria.  ไฟโลได้ยืนยันการนมัสการของพวกยิวในธรรมศาลาที่อะเล็กซานเดรียว่าไม่มีการใช้เครื่องดนตรี  ไฟโลยังได้กล่าวถึงการใช้เครื่องดนตรีประกอบการเต้นรำในงานเลี้ยงฉลองต่างๆ 8    (แต่ไม่ใช่การใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการ)

                    ไฟโลได้กล่าวในแง่ลบเกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีว่า  เครื่องดนตรีเป็นการเร้าอารมณ์

ให้เกิดตัณหา  จากหนังสือ Special Laws II. 193”, และจากหนังสือ On Flight and Finding 22  ไฟโลตำหนิอย่างเสียหายในการใช้เครื่องดนตรีเพื่อปลุกเร้าอารมณ์  ซึ่งแตกต่างๆจากการใช้เสียงดนตรีด้วยปาก  หรือ (vocal music)

 

8. Philo-An Alexandria Jewish Philosopher (about 20 B.C. to A.D. 50) whose writings

   are a major source of information for Hellenistic Judaism and Greek Philosophy in

   the first century.

 

                    ไฟโลได้กล่าวต่อไปอีกว่า เสียงดนตรีที่มาจากเครื่องดนตรีชนิดปากเปล่า  หรือ

ชนิดสาย  ไม่ต่างอะไรกับเสียงนกไนติ้งเก็ล หรือ เสียงห่าน เพราะไม่ได้เป็นเสียงดนตรีที่มาจากมนุษย์ที่แท้จริง  ซึ่งเป็นเสียงที่พระเจ้าประทานให้อันแท้จริง9

            2. ค.ศ. 110  พลีนีผู้ว่าราชการแห่งบิทิเนียตอนใต้ของทะเลดำ  ได้รายงานเกี่ยวกับพวก

                คริสเตียนให้จักรพรรดิ์ทราจานแห่งโรม.  About A.D. 110 Pliny was a governor of

            Bithynia, which was located just south of Black sea.  พลินีได้เขียนไปถึงจักรพรรดิ์ทราจานเกี่ยวกับแก้ไขปัญหาคริสเตียนในมณฑลที่เขารับผิดชอบ

ผู้ว่าราชการ pliny เป็นชาวต่างประเทศ  ไม่เคยเข้าไปร่วมประชุมนมัสการกับพวกคริสเตียน  เพราะฉะนั้นท่านไม่รู้รายละเอียดเกี่ยวกับการนมัสการของพวกคริสเตียน  สิ่งที่เขารู้เขาได้ไต่ถามโดยตรงจากพวกคริสเตียน  เท่าที่ทราบจากปากของคริสเตียน  พลินีเข้าใจว่าพวกคริสเตียนได้มาร่วมประชุมตาม วันและเวลาที่กำหนดไว้ทุกสัปดาห์  ทุกสัปดาห์พวกคริสเตียนได้มาร่วมประชุมกันแต่ย่ำรุ่ง  และมีการร้องเพลงสดุดีแด่พระเยซูและพระเจ้า10

            3. เคลเมนท์แห่งอะเล็กซานเดรียประมาณ ค.ศ. 200  ได้กล่าวไว้ในคำเทศนาของเขา 

Clement of Alexandria about A.D. 200  ได้บันทึกในคำเทศนาชื่อว่า

2 Clement exhorts” ,  มีใจความว่า เพราะฉะนั้นขอให้เราถวายสรรเสริญพระองค์ด้วยริมฝีปากของเราเท่านั้น  และสรรเสริญพระองค์ด้วยจิตใจของเราด้วย  เพื่อพระองค์จะได้ยอมรับว่าเราเป็นบุตรของพระองค์ 11  

                     เคลเมนท์ได้กล่าวถึงการนมัสการของคริสเตียนในที่ประชุมด้วยการร้องเพลงโดย

ใช้เครื่องเสียง  เดลเมนท์ได้ประณามคนที่หน้าซื่อใจคด  เมื่อมาประชุมนมัสการวางตัวเป็นคนบริสุทธิ์  แต่พอออกจากที่ประชุมไปแล้วกลายเป็นชาวโลก  เคลเมนท์กล่าวว่า

คริสเตียนบางคน  เมื่อออกไปจากที่ประชุมแล้วมีการเล่นดนตรี เต้นรำ และสนุกสนาน และดื่มเหล้าเมามาย นี่เป็นอาการของคนชั่ว 12

                     เคลเมนท์ได้ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างคริสเตียนที่ร้องเพลงในที่ประชุมนมัสการ

                ด้วยเสียง vocal music หรือ cappella  กับอีกมุมหนึ่งคริสเตียนหน้าซื่อใจคดที่ร้องเพลงเล่นดนตรีเต้นรำ และดื่มเหล้าเมามายภายนอก  เคลเมนท์ย้ำว่า 

 

 


9. Posterity of Cain 105

10. Pliny Pliny’s Epistles 10:96.

11. Clement of Alexandria, Exhortation to Heathen IX.10

12. Translation from E. Hennecke, New Testament Apocrypha, Vol. II (London :

     Lutter worth, 1965), pp. 740f

 

จงขอบคุณพระเจ้าเสมอสำหรับทุกสิ่ง  ด้วยการฟังสิ่งที่ชอบธรรม  และอ่านพระคำของ

พระเจ้า  ,เรียนพระคำของพระเจ้าด้วยความจริง ด้วยความบริสุทธิ์ใจ,ด้วยการอธิษฐาน ,ด้วยการสรรเสริญ ,ด้วยเพลงสดุดี, ด้วยการขอพร และร้องเพลง (psallo vocal music)  จิตวิญญาณที่ทำอย่างนั้นจะไม่แยกจากพระเจ้าอย่างแน่นอน 13

            4. อิจนาเชียช แห่งเมืองอันติโอเกียตอนต้นศตวรรษที่สอง  เป็นผู้ปกครองที่คริสตจักร

                อันติโอเกีย  Ignatius of Antioch, early second century, a biship at Antioch Church.  อิจนาเชียชยอมพลีชีพในสมัยจักรพรรดิ Trajan  อิจนาเชียช  ยกเครื่องดนตรีเป็นอุทาหรณ์ของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  แล้วท่านได้ชี้แจงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในคริสตจักร  ด้วยการร้องเพลงด้วยปากเปล่าเท่านั้น

                     อิจนาเชียชได้หนุนใจคริสเตียนที่โรมดังนี้ว่า ในการที่ท่านได้มาร่วมประชุมกันด้วย

                ความรัก เพื่อท่านจะได้ร้องเพลงสรรเสริญแก่พระบิดาโดยพระเยซูคริสต์เจ้า 14   

                อิจนาเชียชยกเครื่องดนตรีเป็นอุทาหรณ์เรื่องการเป็นเอกภาพแต่ไม่ใช้เครื่องดนตรีในการนมัสการ  ท่านได้กำชับคริสเตียนให้เชื่อฟังผู้ปกครอง  ท่านกล่าวว่า

            สำหรับท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ปกครองซึ่งสมควรแล้วที่พระเจ้าให้เกียรติ์ท่าน  อธิษฐานเปรียบเหมือนพิณมีหลายสาย  เพราะฉะนั้นด้วยความรักของพระเยซูคริสต์เจ้า  ขอให้ท่านเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน  ในการส่งเสียงร้องเพลง (Vocal music) แด่พระบิดาโดย

                พระเยซูคริสต์  เพื่อพระองค์จะได้ฟังท่านและยอมรับท่านเป็นสมาชิกของพระบุตรของพระเจ้า 15  

                  อิจนาเชียช เน้นให้เห็นความสำคัญของการร้องเพลง (Vocal music) ในที่ประชุมให้

                กระทำด้วยความพร้อมเพรียงกัน  อันเป็นลักษณะของคริสเตียนยุคแรก 16

            5. จัสติน ผู้พลีชีพ ค.ศ. 100-165 Justin Martyr 100-165 A.D.  ท่านชี้แจงการ

นมัสการของคริสเตียนในวันอาทิตย์ว่า  โดยยกเอาบทเพลงสรรเสริญของดาวิด จงร้องเพลงบทใหม่ถวายแก่พระยะโฮวาให้ชนชาวแผ่นดินโลกทั้งสิ้นร้องเพลงถวายสรรเสริญพระยะโฮวา 2 จงร้องเพลงถวายแก่พระยะโฮวา จงถวายชัยแก่พระนามของพระองค์ จงประกาศความรอดของพระองค์ทุกๆ วันต่อไป(บทเพลงสรรเสริญ 96:1-2)  เกี่ยวกับการนมัสการของ

คริสเตียนในยุคของท่านคือ ค.ศ. 100-165  จัสตินกล่าวว่า

เราสรรเสริญ (พระผู้ทรงสร้างจักรวาล)  พร้อมกับคำอธิษฐานและการโมทนาพระคุณของพระองค์ที่ทรงประทานทุกสิ่งให้เรา  ... เพื่อถวายเกียรติยศแด่พระเจ้า และด้วยเพลง

 


13. Miscellanies VI. XIV. 113,3

14. Ignatius Epistle to the Romans 2

15. Ignatius Epistle to the Ephesians 4

16. J Quasten, op. cit; pp. 91-102

 

สดุดี (Vocal music) สำหรับสารพัดทุกสิ่งพระเจ้าทรงสร้างเพื่อสุขภาพ สิ่งดีๆที่พระองค์ประทานให้ ขอบคุณสำหรับฤดูกาลต่างๆ ....(Apology I,13)

                                จัสตินใช้คำว่า สรรเสริญและ เพลงสดุดี  ท่านหมายถึงการร้องเพลงโดย

                ไม่ใช้เครื่องดนตรี  หมายถึงการร้องเพลงด้วยปากเปล่า หรือ Vocal Music. 17

            6. เทอร์ทูเลียน ค.ศ. 160-220  Tertullian at the beginning of the third

            century.  เทอร์ทูเลียนเป็นนักเขียนคริสเตียน  ในภาษาละตินอาศัยอยู่ที่เมือง Carthage  ท่านได้เขียนเกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีดังนี้  คริสเตียนควรจะเกลียดชังเครื่องดนตรีที่ใช้ในโรงมหรสพ18

                      เทอร์ทูเลียนได้บรรยายขั้นตอนการนมัสการในที่ประชุมไว้ดังนี้  มีการอ่านพระคำ

ของพระเจ้า, มีการร้องเพลงสรรเสริญ (Vocal music) , มีการเทศนา ,มีการอธิษฐาน(On the soul 9:4)  เทอร์ทูเลียนยังได้กล่าวถึงประเพณีการร้องเพลงที่มาจากเพลงสดุดีหรือมาจากข้อพระคัมภีร์หรือเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเอง 19

                     ในศตวรรษที่สามได้มีการค้นพบบทเพลงสรรเสริญของคริสเตียนบนแผ่นกระดาษ

            Papyri เนื้อเพลงที่พบเหล่านั้นมีตัวโน๊ตสำหรับการร้องเพลงด้วยเสียง  Vocal Music ตัวโน๊ตเพลงเหล่านั้นไม่ใช่ใช้ประกอบการร้องเพลงด้วยเครื่องดนตรี 20

                 7. ยูซีเบียส  ผู้ปกครองของคริสตจักรกายซาไรอา ค.ศ. 314-325  Eusebius bishop of

            Caesarea 314-325 A.D.  ยูซีเบียสกล่าวถึง การร้องเพลงสดุดี(psalmodia)  และการท่องพระคัมภีร์ปากเปล่าที่พระเจ้าประทานให้  (Church History X.iii.3)

                   ทั่วโลก- ทุกเมือง, ทุกหมู่บ้าน และทั่วทุกประเทศ และทั่วทุกคริสตจักรของพระเจ้า 

พลไพร่ของพระเยซูที่ได้ถูกเลือกออกมาจากประเทศต่างๆ  ออกมาจากการกราบไหว้รูปเคารพ ออกมาจากการถือผี  กลับใจเป็นผู้เชื่อพระเจ้า  คนของพระเจ้าได้ร้องเพลงสดุดี (Vocal music) เพลงสรรเสริญด้วยเสียงอันดัง  เสียงดังมากจนทำให้เสียงร้องเพลง (psallonton) ดังออกไปทำให้คนที่อยู่ข้างนอกได้ยินเสียง” (PG 23:657D-660A; cf. also 648A and 648D-649A)

 

 

 


17. Justin Martyr-  Defender of Christianity from the second century.

18. Tertullian The shows 10

19. Apology 39:18

20. E. Wellesz.  “The earliest example of Christian Hymnody”  Classical Quarterly

39 (1945), pp. 34-45; Quasten, op. cit , pp. 101f; Gerolo, op. cit, p. 45 This and a selection of other early Christian hymns’ is translated in my early Christians speak, pp. 149-155.

 

      8. John Chrysostom  (C.347-407)  ตอนท้ายศตวรรษที่ 4 ท่านกล่าวว่า ที่ไหนที่มี

              การใช้เครื่องดนตรีพระเยซูไม่สถิตอยู่ด้วย  ท่านประณามการใช้ฉิ่งฉาบและเต้นรำ  ท่านไม่ยอมให้บัพติศมาแก่ผู้ที่ใช้เครื่องดนตรี เช่น ปี่ , ขลุ่ย และพิณ นอกจากว่าเขาเลิกใช้เครื่องดนตรีเหล่านี้  เครื่องดนตรีในยุคนั้นมีความสัมพันธ์กับการไร้ศีลธรรมของพวกที่นับถือลัทธิศาสนาของชาวโลก  Chrysostom  เปรียบเครื่องดนตรีเหมือนขยะที่มั่วสุมของซาตาน 21

รุป : 1. สำคัญมากที่ต้องมีความรู้พื้นฐาน 3 ยุคของศาสนาคริสต์  It is important to have

basic knowledge about the three dispensation of Christianity.

(1) ยุคบรรพบุรุษ Patriarchal Dispensation.

(2) ยุคโมเซ  Mosiacal Dispensation.

(3) ยุคคริสเตียน  Christian Dispensation.

              ถ้าไม่เข้าใจหลัก 3 ประการนี้จะทำให้มีความเข้าใจผิดสับสนวุ่นวาย  จับต้นชนปลายไม่ถูก 

เช่นแบบแผนในการนมัสการแต่ละยุคก็ไม่เหมือนกัน  ต้องปฏิบัติตามกฎของแต่ละยุคโดยเคร่งครัด

     2. จากการศึกษาการใช้เครื่องดนตรีในพระคัมภีร์เดิม 39 เล่ม  เราพบว่ามีการใช้เครื่องดนตรีใน

โอกาสต่างๆ  We learned that the 39 books of the O.T. recorded the use of instrument music at different occasions.  เราพบว่าพระเจ้าให้ใช้เครื่องดนตรีในการ

         นมัสการในวิหารได้  แต่เมื่อวิหารถูกทำลายลงเมื่อ ค.ศ. 70 โดยจักรพรรดิ Vespasian และ Titus  การนมัสการที่ใช้เครื่องดนตรีในวิหารก็ยุติลงด้วย  เมื่อปี ก.ค.ศ. 500  จนถึงสมัยของพระเยซูและถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  พวกยิวสร้างธรรมศาลาทั่วโลก  ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า  ไม่มีการใช้เครื่องดนตรีในธรรมศาลา  คริสเตียนได้ปฏิบัติตามแบบแผนการนมัสการของธรรมศาลาของพวกยิว คือไม่ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการเหมือนพวกยิว  มีแต่การร้องเพลงด้วยปากเปล่าเท่านั้น

     * การใช้เครื่องดนตรีในพระคัมภีร์เดิมมีจุดประสงค์หลากหลาย  The use of instrument

           music in the O.T. had different purposes.  บ้างใช้เครื่องดนตรีในโอกาสเลี้ยงฉลอง ใช้ในการส่งสัญญาณ ใช้ในการสนุกสนานรื่นเริง มีการเต้นรำกับเครื่องดนตรี มีการแห่แหนด้วยการใช้เครื่องดนตรี  บ้างก็เป็นศุภนิมิต ฯลฯ  การใช้เครื่องดนตรีในวิหารอยู่ในยุคของพระคัมภีร์เดิมซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว  เพราะมีคำสัญญาไมตรีใหม่เข้ามาแทน 

                     (เฮ็บราย 8:8-13) ในพระคัมภีร์ใหม่ไม่มีการใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการมีแต่การร้องเพลงด้วยปากเปล่าเท่านั้น

    

 


21. John Chrysostom Homilies on First Corinthians 12:11

 

     * ปัจจุบันเราอยู่ภายใต้คำสัญญาไมตรีใหม่  หรือภายใต้ยุคคริสเตียน  Now we are under

           the New Testament, under Christian dispensation.

     * เฮ็บราย 1:1-2 เมื่อคราวก่อน พระเจ้าได้ตรัสทางพวกผู้พยากรณ์ทีละเล็กทีละน้อย ด้วยอาการ

หลายวิธีแก่บรรพบุรุษ 2 แต่ในคราวที่สุดนี้ ได้ตรัสแก่เราทางพระบุตร พระบุตรนั้น พระองค์ได้ทรงตั้งไว้เป็นผู้รับสิ่งทั้งปวงเป็นมรดก และโดยพระบุตรนั้น พระองค์ได้ทรงสร้างโลกทั้งหลาย

     3. ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรยุคแรก  และยุคบรรพบุรุษต่อจากอัครสาวกไม่มีการใช้เครื่องดนตรีนมัสการ  History of the early Church and the Church fathers no mention of

using instrumental music in worship. ออร์แกนได้นำเข้ามาในคริสตจักรครั้งแรกโดย  Pope Vitaline เมื่อ ค.ศ. 660

     โปรดระลึกถึงพระดำรัสของพระเยซู  โยฮัน 4:23-24 แต่วันนั้นก็ถึงเดี๋ยวนี้แล้วคือคนทั้งหลายที่ได้นมัสการอย่างถูกต้อง จะนมัสการพระบิดาโดยจิตวิญญาณและโดยความจริง เพราะว่าพระบิดาทรงแสวงหาคนอย่างนั้นนมัสการพระองค์ 24 พระเจ้าเป็นพระวิญญาณและผู้ที่นมัสการพระองค์ต้องนมัสการโดยจิตวิญญาณและความจริง"”




บทความ โดยสุบิน ปั้นบุญ

การนมัสการที่พระเจ้ายอมรับ กับการนมัสการที่นอกรีต
สิ่งที่คุณเป็นคือสิ่งที่คุณทำ
หลักปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีความทุกข์
คนพิการสองคน
จะสื่อความให้ไพเราะเสนาะหูอย่างไร?
ทำอย่างไรเพื่อให้การนมัสการในที่ประชุมมีประสิทธิภาพ?
ช่วยกันสร้างบรรยากาศที่ดีในการนมัสการ
แม่รู้ผู้เดียว
บ้านที่หวานชื่น
เหตุผลดีที่จะไปโบสถ์ และเป็นคริสเตียนที่ดีจนแก่เฒ่า
ยกเว้นเฮนรี !
สิ่งที่พ่อควรใส่ใจ
อยากจะเป็นในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
อาณาจักรโรมล่มสลาย
งานฟื้นฟูอยู่ที่ไหน?
บริจาคสำหรับซาตาน
การฝึกสอนเด็ก
การอุทิศตน
โอพระเจ้า โปรดเห็นใจเถอะ!
ภาพสะท้อนของคนอหังการ
การถ่อมสุภาพ
การยกโทษ
การเจริญเติบโตขึ้น
ความรักมีอานุภาพ
เอลวิส เพรสลีย์ กลายเป็นรูปเคารพ
พระเจ้ายิ่งใหญ่
ภรรยาควรปฏิบัติตัวต่อสามีอย่างไร?
สมมุติว่าพระเยซูไม่ได้เกิดมาอะไรจะเกิดขึ้น?
ปฏิกิริยาของผู้ไม่เชื่อพระเจ้า
พระเจ้าเป็นหนี้บุญคุณเราหรือเปล่า?
คำเทศนาที่สมดุล
ลัทธินอกรีต
เชื่อกับไม่เชื่อ
ผู้ไม่เชื่อพระเจ้าขัดแย้งกับศาสนาคริสต์
ทำกับคนในครอบครัวของท่านก่อน
ทำไมเราควรไปร่วมประชุมเพื่อนมัสการพระเจ้า?
มีนัดกับพระเจ้าแล้ว
ชีวิตที่แตกต่าง
ทำการดีประจำวัน
จงฝันใหญ่, แต่จงโฟกัสอยู่ที่รายละเอียดจุดเล็กๆ
หลักการในการถวายทรัพย์ตามแบบพระคัมภีร์
คนโบราณเตือนคนสมัยใหม่
คำเทศนาที่ทรงพลัง
นักเทศน์ชนิดต่างๆ
การเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงชนิดต่างๆ
ใครที่คิดว่าเป็นผู้อยู่ในฝ่ายวิญญาณจิตต์
ความสามรถในการวินิจฉัยมีคุณค่ามหาศาล
รอยเท้าเป็นหลักฐาน
ความเมตตาปราณีทำให้โลกน่าอยู่น่าอาศัย
พ่อแม่เป็นคริสเตียนแต่ไม่ไปโบสถ์
พระคัมภีร์แห่งชีวิต article
บัญญัติ 10 ประการเพื่อปรับปรุงคริสตจักรให้ดีขึ้น article
พระเยซูเป็นตัวอย่าง article
เหตุผลดีที่จะไปโบสถ์ และเป็นคริสเตียนที่ดีจนแก่เฒ่า
คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 6
คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 5
คำถามเรื่องการใช้เครื่องดนตรีในเวลานมัสการ # 4
ประวัติโดยย่อของคริสตจักร มิตรภาพ
ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการได้ไหม?
การนมัสการคืออะไร?
ทำไมคริสตจักรของพระคริสต์ไม่ใช้เครื่องดนตรีเวลานมัสการพระเจ้า



Copyright © 2011 All Rights Reserved.

คริสตจักรของพระคริสต์ มิตรภาพ
ที่อยู่ :  เลขที่ 838 ซ.ดาราฉาย อ่อนนุช 46 เขต :  สวนหลวง แขวง : สวนหลวง
จังหวัด : กรุงเทพฯ      รหัสไปรษณีย์ :10250
เบอร์โทร :  02-321-1099